chapter-3-4-อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพ

อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง FLAME DETECTOR

  • ประเภทอุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง
    • การเลือกประเภทของอุปกรณ์
      • ผู้ใช้งานต้องมีความเข้าใจหลักการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง (แบบอินฟราเรดและอัลตราไวโอเลต) เพื่อการเลือกใช้ที่ถูกต้องเหมาะสม กับความเสี่ยงของสถานที่และระดับของการป้องกัน โดยการติดตั้งต้องทำตามคำแนะนำของผู้ผลิต ตามชนิดของอุปกรณ์ที่เลือกใช้
  • รูปแบบพื้นที่และระยะของอุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง
  1. มุมมองของอุปกรณ์ตรวจจับ
    • อุปกรณ์ตรวจจับต้องใช้เลนส์ที่ให้มุมมองครอบคลุมพื้นที่ หรือสิ่งที่ต้องการป้องกันได้โดยการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับหลายชุดเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของการตรวจจับ
  2. อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง
    • ต้องไม่ติดตั้งให้เกิดเงาหรือจุดบอดบนพื้นที่ที่ป้องกัน
      พื้นที่ที่ไม่ได้รับการป้องกันที่เกิดขึ้นจากการบังของวัตถุ เช่นสิ่งของบนชั้นเก็บของสูงๆ ต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับเพิ่มเติมที่จุดนั้น
  3. อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิงต้องติดตั้งไม่ให้มีวัตถุมากีดขวาง
    • หรือมีโครงสร้างของอาคารมาบัง หรืออยู่ในแนวมุมตรวจจับของอุปกรณ์ (field of view) ตำแหน่ง ติดตั้งต้องเข้าทำการบำรุงรักษาได้สะดวก เช่น การทำความสะอาดเลนส์ และต้องไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับใกล้แสงสว่างจ้า หรือหลังกระจกใส หรือแผงโปร่งแสงใดๆ ที่บังการรับการแผ่รังสีจากเปลวเพลิง
  • ระยะห่างและตำแหน่งติดตั้งของอุปกรณ์ตรวจจับ
    • ระยะห่างและตำแหน่งติดตั้งของอุปกรณ์ตรวจจับ
      • ระยะห่างจากจุดกำเนิดไฟถึงอุปกรณ์ตรวจจับ มีผลต่อความเข้มของการแผ่รังสี โดยความเข้มข้นของรังสีที่มาถึงอุปกรณ์ตรวจจับจะลดลง ในปริมาณที่ผกผันของระยะห่างยกกำลังสองโดยประมาณ ดังนั้นหากระยะห่างเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ความเข้มของการแผ่รังสีจากจุดกำเนิดไฟจะต้องมีมากขึ้นถึง 4 เท่าจากเดิม จึงจะทำให้อุปกรณ์ตรวจจับทำงาน
    • การพิจารณามุมมอง
      • อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง จะทำงานตรวจจับได้เฉพาะ
        ในแนวที่มองเห็นได้โดยตลอด จากจุดที่เป็นต้นกำเนิดไฟเท่านั้น ในระยะทางที่มีความไวในการตรวจจับสูงสุด โดยจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบแวดล้อมอื่นควบคู่ไปด้วย
    • การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ
      • อุปกรณ์ตรวจับต้องติดตั้งบนฐานที่มั่นคงไม่สั่นไหว อันทำให้เกิดการเริ่มสัญญาณที่ผิดพลาด
    • ระยะห่างและตำแหน่งติดตั้งของอุปกรณ์ตรวจจับ

chapter-3-3อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิ

อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศหลายจุด

(MULTIPOINT ASPIRATED SMOKE DETECTOR)

  • คุณลักษณะของอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศหลายจุด
    1. อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศหลายจุด
      • Multipoint Aspirated Smoke Detector คือ อุปกรณ์ตรวจจับควันที่ประกอบด้วยท่อดูดอากาศ พื้นที่ป้องกันกลับมายังเครื่องตรวจจับควันด้วยปั๊มดูดอากาศขนาดเล็ก โดยท่ออาจมีรูสำหรับดูดสุ่มตัวอย่างอากาศได้ตั้งแต่หนึ่งรูขึ้นไป ซึ่งจุดสุ่มตัวอย่างอากาศแต่ละจุด ถือเสมือนเป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด และต้องใช้ระยะห่างตามมาตรฐานของอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด โดยท่อต้องมีขนาด ความยาว จำนวนรู และขนาดของรู เป็นไปตามที่ผู้ผลิตกำหนด โดยขนาดของพื้นที่สำหรับโซน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
    2. ระยะห่างระหว่างรูสุ่มตัวอย่าง
      • จะต้องไม่เกินกว่าระยะห่าง ระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด
    3. อากาศที่ถูกดูดผ่านจุดสุ่มตัวอย่างที่จุดไกลสุด
      • มาถึงจุดตรวจจับ จะต้องใช้เวลาไม่เกิน 120 วินาที
    4. จุดสุ่มตัวอย่างแต่ละจุด
      • จะต้องมีรูสุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเหมาะสมที่ให้ระบบทำงานได้โดยสะดวกและถูกต้อง
  • โซนและพื้นที่ของอุปกรณ์ตรวจจับ
    1. โซนตรวจจับด้วยอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศ
      • แต่ละโซนสามารถมีขนาดพื้นที่โซนได้ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร
    2. พื้นที่ของการตรวจจับ
      • ห้องที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 46 ตารางเมตรจะต้องมีจุดสุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไป
    3. ระบบท่อสุ่มตัวอย่าง
      • การออกแบบระบบท่อดูดอากาศ รวมทั้งการกำหนดขนาดท่อ และการคำนวณปริมาตร การไหลของอากาศผ่านท่อจะต้องทำให้ระบบมีความไวในการตรวจจับที่เท่ากัน
    4. ปริมาณการไหล
      • การออกแบบระบบท่อสุ่มตัวอย่าง จะต้องทำให้ปริมาตรการไหลของอากาศจากรูสุ่มตัวอย่างทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปริมาตรอากาศที่ดูดผ่านรูสุ่มตัวอย่างที่อยู่ใกล้จุดตรวจจับมากที่สุด
  • อุปกรณ์ตรวจจับชนิดสุ่มในท่ออากาศ
    • รูปแบบและส่วนประกอบของการติดตั้ง

chapter-3-2อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิ

อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสง BEAM TYPE SMOKE DETECTOR

  • ตำแหน่งติดตั้งของพื้นที่ป้องกัน
    • อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสง ให้การตรวจจับที่มีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุดที่เรียงต่อกัน สำหรับเพดานระดับราบ และเพดานทรงจั่วสามารถใช้ข้อกำหนดเดียวกับอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุดได้
      1. ติดตั้งได้ในระดับความสูงไม่ต่ำกว่า 2.70 เมตร แต่ไม่เกิน 25.00 เมตร
      2. ติดตั้ง ในระดับที่ควันสามารถกระจายหรือลอยตัวผ่านขึ้นไปจนถึงลำแสงของอุปกรณ์ตรวจจับ
        ควันได้ โดยอุปกรณ์ส่วนที่รับลำแสงต้องไม่ถูกกับแสงแดดโดยตรง หรือแสงจ้ามากๆ จนอาจทำให้ทำงานผิดพลาดได้
      3. ต้องติดตั้งต่ำจากเพดานไม่น้อนกว่า 300 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 750 มิลลิเมตร เพื่อลดผลกระทบจากระดับของชั้นอากาศร้อนใต้เพดาน (Stratification Effect)
  • ตำแหน่งติดตั้งของพื้นที่ป้องกัน
    1. ระยะห่างจากผนังหรือผิวติดตั้งในแนวตั้งฉากกับลำแสงต้องไม่เกิน 3.5 เมตรหรือ ¼ เท่า ของระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แต่ละชุด
  • ตำแหน่งติดตั้งในพื้นที่ที่มีเพดานลาดเอียง
    1. ต้องติดตั้งชุดตัวส่ง และแผ่นสะท้อน หรือชุดตัวส่งและตัวรับให้ลำแสงขนานกับแนวระดับไปตามความลาดเอียงของเพดาน โดยใช้ระยะห่างระหว่างชุดอุปกรณ์ใต้เพดานระดับราบ
  • การวัดระยะห่างระหว่างชุดอุปกรณ์ตรวจจับของเพดานลาดเอียง
    • การวัดระยะห่างติดตั้งระหว่างชุดอุปกรณ์ตรวจจับในแนวเพดานลาดเอียงต้องวัดในแนวระดับราบ
  • การวัดความสูงของเพดานลาดเอียง
    • เพื่อกำหนดตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ ตรวจจับต้องวัดจากเพดานลงมาถึงพื้นในแนวดิ่งในแต่ละระดับลาดเอียงที่เพดาน
  • ระยะห่างแต่ละชุด
    • ต้องไม่เกิน 14.00 เมตรอุปกรณ์ชุดอยู่ใกล้ผนังกั้นแบ่งพื้นที่ในแนวขนานกับลำแสง ต้องติดห่างจากผนังไม่เกิน 7.00 เมตรหรือ ½ เท่าของระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แต่ละชุด

องค์ประกอบของอุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสง

  • Beam Control Station
    • Beam Control Station คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าส่งสัญญาณของ Smoke Beam Detector ไปยังตู้ควบคุมระบบ Fire Alarm System อีกทั้งยังสามารถ Alignment และ Test สถานะการทำงานผ่านทาง Beam Control Station ได้เพื่อง่ายต่อการ Service และ Maintenance
  • Smoke Beam Detector
    • Smoke Beam Detector คือ อุปกรณ์ตรวจจับที่ประกอบไปด้วย Transmitter IR ที่ทำหน้าที่เป็นตัวส่งคลื่น IRและ อุปกรณ์ที่เป็นตัวรับ Receiver IR ทำหน้าที่รับคลื่น IR ที่สะท้อนกลับมา
  • Prism Reflector
    • Prism Reflectorคืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับสะท้อนคลื่น infrared signal ที่ส่งมาจาก Smoke Beam Detector

chapter-3-1-อุปกรณ์ตรวจจับควัน-ชน

อุปกรณ์ตรวจจับควัน (ชนิดจุด) ​

  • POINT TYPE SMOKE DETECTOR อุปกรณ์ตรวจจับควันเป็นอุปกรณ์ป้องกันชีวิต และทรัพย์สิน

ตำแหน่งติดตั้งในพื้นที่ป้องกันของอุปกรณ์ตรวจจับควัน

  • พื้นที่มีสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต้องไม่ติดตั้งอุปกรณ์
    • พื้นที่อุณหภูมิแวดล้อมต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส
    • พื้นที่อุณหภูมิแวดล้อมสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
    • ค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าร้อยละ 93
    • มีความเร็วลมสูงกว่า 300 ft/min (1.5 m/sec)
  • พื้นที่มีอัตราการระบายอากาศสูง
    • ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับให้ห่างจากจ่ายลมเย็น หรือช่องดูดลมกลับที่อยู่ในระนาบเดียวกันกับ อุปกรณ์ตรวจจับนั้น ไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร
    • อัตราการระบายอากาศ (Air Change Rate) 15 ครั้งต่อชั่วโมง หมายถึง ปริมาตรอากาศในห้องที่ต้องระบายออกภายนอกให้หมดเป็นจำนวน 15 เท่าของปริมาตรห้องในเวลา 1 ชั่วโมง
  • ความสูงที่ติดตั้งอุปกณณ์ตรวจจับควันชนิดจุด
    • เพดานสูงที่ไม่เกิน 3.50 เมตร ต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับโดยให้ส่วนตรวจจับอยู่ต่ำจากเพดานไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 600 มิลลิเมตร
    • อุปกรณ์จรวจจับควันที่ติดตั้งเข้ากับผนัง ต้องติดที่ใกล้กับเพดาน หรือบริเวณที่ขอบล่างของส่วนตรวจจับต่ำจากเพดานไม่เกิน 300 มิลลิเมตร
    • อุปกรณ์จรวจจับควันชนิดจุดติดตั้งได้ไนระดับความสูงไม่เกิน 10.50 เมตร

ตำแหน่งติดตั้งที่เพดานราบของอุปกรณ์ตรวจจับควัน

  • ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ในช่องทางเดิน
    • ช่องทางเดินกว้างไม่เกิน 3.60 เมตร มีเพดานระดับที่สูงไม่เกิน 3.0 เมตร โดยใช้รัศมีวงกลมพื้นที่ตรวจจับที่คาบเกี่ยว (overlap) ต่อเนื่องกัน จะมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับได้ไม่เกิน 12.00 เมตร และห่างผนังปลายทางได้ไม่เกิน 6.00 เมตร
  • ความสูงในการติดตั้ง
    • ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดาน ที่สูงจากพื้นไม่เกิน 10.5 เมตร
  • ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์
    • ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับไม่เกิน 9.10 เมตร (s) คิดเป็นพื้นที่ตรวจจับไม่เกิน 6.30 เมตร (0.7s) โดยต้องติดห่างจากผนังกั้น หรือชั้นวาง
  • ตำแหน่งติดตั้งที่เพดานทรงจั่วของอุปกรณ์ตรวจจับควัน
    • การติดตั้งแถวแรก
      • ต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับแถวแรกที่ด้านหนึ่งของเพดาน ในระยะหนึ่งที่อยู่ต่ำลงมาจากจุดสูงสุดของเพดานไม่น้อย กว่า 100 มิลลิเมตร จากเส้นแนวดิ่งและไม่เกิน 910 มิลลิเมตร จากเส้นแนวดิ่งของจั่วถึงเพดานแต่ละด้าน
    • พื้นที่ระเว้น
      • ต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับแถวแรกที่ด้านหนึ่งของเพดาน ในระยะหนึ่งที่อยู่ต่ำลงมาจากจุดสูงสุดของเพดานไม่น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร (วัดในแนวดิ่ง)
    • ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์
      • ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับไม่เกิน 9.10 เมตร (s) คิดเป็นพื้นที่ตรวจจับไม่เกิน 6.30 เมตร (0.7s) โดยต้องติดห่างจากผนังกั้น หรือชั้นวาง
    • ความสูงในการติดตั้ง
      • ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดาน ที่สูงจากพื้นไม่เกิน 10.5 เมตร

อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
(ชนิดจุดแบบอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ)

  • POINT TYPE HEAT DETECTOR (RATE OF RISE) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนไม่ใช่เป็นอุปกรณ์ป้องกันชีวิต มีไว้เพื่อป้องกันทรัพย์สินเท่านั้น

ระยะห่างจากช่องลมระบบปรับอากาศ

  • (1) ต้องติดตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่กระแสลม อุณหภูมิ และความชื้นจากระบบปรับอากาศไม่รบกวนหรือมีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับนั้น
  • (2) ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับให้ห่างจากช่องจ่ายลมเย็น หรือช่องดูดลมกลับที่อยู่ในระนาบเดียวกันกับอุปกรณ์ตรวจจับนั้น ไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร

ความสูงที่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน

  • การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดานระดับราบที่สูงจากพื้นที่ไม่เกิน 3.0 เมตร
    จะมีระยะห่างที่กำหนด (listed spacing) ระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับไม่เกิน 9.1 เมตร มีรัศมีการตรวจจับ 6.3 เมตร พื้นที่ตรวจจับอย่างต่อเนื่อง 82.8 ตารางเมตร
    โดยต้องติดห่างจากผนังกั้น หรือชั้นวางของไม่เกิน 4.5 เมตร

ตำแหน่งติดตั้งที่เพดานราบของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน

  • ตำแหน่งติดตั้งสำหรับพื้นที่มีเพดานสูง
    • อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจุดติดตั้งบนเพดานระดับราบที่สูง 3.0 เมตร
      จะมีระยะห่างที่กำหนด 9.10 เมตร และหากติดตั้งสูงเกินกว่า 3.0 เมตรต้องลดระยะห่างอุปกรณ์ตรวจจับ โดยใช้คูณลดระยะห่างที่กำหนดตามตาราง

ตำแหน่งติดตั้งที่แนวระดับของตงหรือคานยื่นลงมาของอุปกรณ์ตรวจจับควัน และอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน

  • คาน ( beam )
    • คาน (beam) ที่ลึกหรือยื่นลงมาจากเพดานตั้งแต่ 100 มิลลิเมตร หรือมากกว่า มีระยะห่างระหว่างเส้นกึ่งกลางคานมากกว่า 1.00 เมตร ติดตั้งทั้งที่ใต้ตงและเพดานต้องลดระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับที่อยู่ในแนวตั้งฉากกับคานลงร้อยละ 33 หรือมีระยะห่างไม่เกินสองในสามของระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับบนเพดานระดับราบ (2/3s)
  • คานลึกน้อยกว่า 300 มิลลิเมตร
    • คานที่ลึกมากกว่า 300 มิลลิเมตร มีระยะห่าระหว่างเส้นกึ่งกลางคานมากกว่า 2.40 เมตร ให้ติดอุปกรณ์ตรวจจับ
    • – ถ้า d/h มากกว่า 0.1 และ w/h น้อยกว่า 0.4 ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่ใต้คานแต่ละคานที่เพดานระหว่างคานดังรูป
    • – ถ้า d/h มากกว่า 0.1 และ w/h มากกว่า 0.4 ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดานระหว่างคาน
  • คานลึกน้อยกว่า 300 มิลลิเมตร
    • คานที่ลึกน้อยกว่า 300 มิลลิเมตร มีระยะห่างระหว่างเส้นกึ่งกลางคานน้อยกว่า 2.40 เมตร ให้ติดอุปกรณ์ตรวจจับที่ใต้คาน
  • เพดานที่มีตงรองพื้น (solid joist)
    • คานที่ยื่นลงมาจากเพดานไม่เกิน 100 มิลลิเมตร ให้ถือเป็นเพดานระดับราบปกติ

มาตรฐานการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

พื้นฐานการออกแบบ

ทั่วไป

    • ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ ระบบที่แจ้งเหตุให้ผู้ที่อยู่ในอาคารทราบอย่างรวดเร็ว ก่อนที่ไฟจะไหม้ลุกลาม จนเป็นอันตราย ต่อสิ่งมีชีวิต และทรัพย์สิน โดย
        • ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เพื่อ ( ความปลอดภัยต่อชีวิต ) ต้องมีความไวในการตรวจจับ และเตือนภัยให้ผู้คนทราบได้โดยเร็วเพื่อให้มีเวลามากพอที่จะป้องกันหรือหนีไฟได้
        • ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เพื่อ (ความปลอดภัยต่อทรัพย์สิน ) ต้องสามารถตรวจจับ และเตือนภัยได้ในระยะต้นๆ ของเพลิงที่ไหม้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ สามารถเข้าดับเพลิงไหม้เพื่อลดความเสียหาย

การออกแบบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

    • การออกแบบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ตามมาตรฐานนี้ใช้สำหรับอาคารดังต่อไปนี้
        • อาคารขนาดเล็ก
        • อาคารขนาดใหญ่
        • อาคารขนาดใหญ่พิเศษ
        • อาคารสูง
        • อาคารสาธารณะ
        • อาคารอยู่อาศัยรวม
        • โรงงาน คลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า
        • อาคารอยู่อาศัย ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถวและบ้านแฝด

ประเภทของอาคาร

    1. อาคารขนาดเล็ก
        • อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร มีพื้นที่ ในช่วง ( 500 m² ≤ พื้นที่ < 2,000 m² ) อาคารที่มีความสูงเป็น ( 15 m. ≤ ความสูง< 23 m.) และมีพื้นที่ ≤ 1,000 m².
    2. อาคารขนาดใหญ่
        • อาคารที่มีพื้นที่รวม 2,000 m²
        • หรืออาคารที่ ( 15 m. ≤ ความสูง < 23 m.) และมีพื้นที่ ≤ 2,000 m.
    3. อาคารใหญ่พิเศษ
        • อาคารที่มีพื้นที่รวม หรือชั้นใดชั้นหนึ่ง ≥ 10,000 m²
    4. อาคารสูง
        • อาคารที่มีผู้คนใช้สอย และมีความสูง ≥ 23 m.
    5. อาคารสาธารณะ
        • อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมผู้คนโดยทั่วไป เช่น ตลาด ห้างสรรพสินค้า ท่าอากาศยาน เป็นต้น
    6. อาคารอาศัยรวม
        • อาคาร หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายรอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกัน สำหรับแต่ละครอบครัว
    7. คลังสินค้า
        • อาคาร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สำหรับเก็บสินค้าหรือสิ่งของที่ไม่อันตราย เช่น วัตถุระเบิด สารเคมี เป็นต้น
    8. อาคารอาศัย และตึกแถว
        • อาคารที่ก่อสร้างต่อเนื่องกันเป็นแถวยาวตั้งแต่สองคูหาขึ้นไป มีผนังแบ่งอาคารเป็นคูหาและประกอบด้วยวัสดุทนไฟเป็นส่วนใหญ่

ส่วนประกอบของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในแต่ละประเภทอาคาร

    • การออกแบบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ตามมาตรฐานนี้ใช้สำหรับอาคารดังต่อไปนี้

องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึง

    • ประเภทของอาคาร
    • พื้นที่ปลอดควันไฟ
    • พื้นที่ห่วงห้าม เช่น ห้องไฟฟ้าหลัก
    • ความสามารถในการทนไฟ
    • จำนวนความหนาแน่นของคนในอาคาร เช่น สถานีขนส่งเป็นต้น
    • อันตรายจากวัสดุหรือเชื้อเพลิงในอาคาร

การแบ่งโซนการตรวจจับและโซนแจ้งสัญญาณการแบ่งโซนการตรวจจับของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

การแบ่งโซนของอุปกรณ์ตรวจจับ

    • ต้องแบ่งให้แต่ละโซนมีขนาดเล็กและมีจำนวนโซนที่ครอบคลุมพื้นที่ป้องกันทั้งหมด เพื่อที่จะสามารถเข้าตรวจสอบและระงับเหตุได้โดยเร็วเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ การแบ่งโซนจะต้องสอดคล้องกับรูปแบบสถาปัตยกรรมและลักษณะการใช้งานในแต่ละพื้นที่

การแบ่งโซนโดยผนังทนไฟ

    • อาคารที่กั้นพื้นที่ด้วยผนังทนไฟต้องแบ่งโซนตรวจจับโดยใช้แนวผนังทนไฟเป็นหลัก พื้นที่ปิดล้อมทนไฟแต่ละพื้นที่สามารถแบ่งโซนตรวจจับได้มากกว่า หนึ่งโซน โซนตรวจจับหนึ่งโซนสามารถครอบคลุมได้หลายพื้นที่ แม้จะมีส่วนปิดล้อมล้อมทนไฟแยกกัน หากไม่ทำให้ระยะค้นหายาวกว่าที่กำหนด             

การแบ่งโซนเฉพาะ

    • พื้นที่ ที่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับอัตโนมัติ และต้องแยกออกเป็นโซนอิสระ ดังนี้
    1. พื้นที่หรือห้องปลอดควันไฟ เช่น โถงหน้าลิฟต์ดับเพลิง เส้นทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ เป็นต้น
    2. พื้นที่พิเศษหรือห้องที่มีความอันตราย เช่น ห้องเครื่องไฟฟ้าหลักของอาคาร ห้องเครื่องจักรกลทุกประเภท ห้องเก็บสารไวไฟหรือเชื้อเพลิง เป็นต้น

เกณฑ์การแบ่งขนาดและจำนวนโซนอุปกรณ์ตรวจจับ

    • พื้นที่เปิดโล่ง
        • พื้นที่มีลักษณะเปิดโล่งมองเห็นถึงกันได้ตลอด สามารถมีขนาดพื้นที่โซนตรวจจับได้ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร
    • อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ
        • อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือที่ติดตั้งบริเวณใกล้กับหน้าบันไดหรือห้องบันไดแบบปิดของแต่ละชั้น ห้องให้อยู่ในวงจรโซนตรวจจับเริ่มสัญญาณสำหรับพื้นที่ป้องกันในบริเวณเดียวกันของชั้นนั้น ยกเว้นอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือที่ติดตั้งบริเวณประตูช่องปล่อยออก ปลายบันไดชั้นล่างที่เปิดออกสู่ภายนอกอาคารต้องอยู่ในวงจรโซนตรวจับเริ่มสัญญาณสำหรับช่องบันได
    • ระยะค้นหา
        • การแบ่งโซนตรวจจับ ต้องไม่ทำให้ระยะค้นหาเกิน 30 เมตร
    • โซนตรวจจับและหัวกระจายน้ำ
        • พื้นที่ติดตั้งหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ และไม่ได้เป็นพื้นที่ป้องกันชีวิต สามารถกำหนดขนาดของโซนตรวจจับเท่ากับขนาดของโซนหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ และใช้สวิตช์ตรวจการไหลของน้ำเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ตรวจจับเริ่มสัญญาณในวงจรโซนตรวจคุมนั้น
    • ห้องที่มีช่องเปิดที่อยู่เหนือระดับพื้นห้อง
        • ห้องที่มีช่องเปิดที่อยู่เหนือระดับพื้นห้อง หรือมีช่องเปิดที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นห้องหากห้องและช่องเปิดนั้นกั้นแยกจากพื้นที่อื่นด้วยผนังหรือส่วนปิดล้อมทนไฟเดียวกันสามารถกำหนดให้ห้องและช่องปิดนั้นใช้วงจรโซนตรวจับเริ่มสัญญาณเดียวกันได้

เกณฑ์การแบ่งขนาดและจำนวนโซนอุปกรณ์ตรวจจับ

    • พื้นที่ในแต่ละโซนตรวจจับ
        • พื้นที่แต่ละโซนตรวจจับในชั้นเดียวกันต้องไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร
    • อาคารขนาดไม่เกิน 500 ตารางเมตร
        • พื้นที่อาคารทั้งหมดหากมีขนาดไม่เกิน 500 ตารางเมตรสามารถมีโซนตรวจจับเพียงหนึ่งโซนได้ ถึงแม้ว่าอาคารจะมีหลายชั้น
    • ระยะค้นหา
        • การแบ่งโซนตรวจจับต้องไม่ทำให้ระยะค้นหาเกิน 30 เมตร
    • อาคารขนาดเกิน 500 ตารางเมตร
        • พื้นที่อาคารทั้งหมดหากมีขนาดเกิน 500 ตารางเมตร และสูงเกิน 3 ชั้นจะต้องแบ่งโซนตรวจจับอย่างน้อยชั้นละหนึ่งโซน

ระบบที่สามารถระบุตำแหน่ง

เกณฑ์การแบ่งโซนแจ้งสัญญาณ

    1. ต้องแบ่งวงจรโซนแจ้งสัญญาณโดยใช้ผนังทนไฟเป็นแนวแบ่งโซน
    2. สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการเริ่มสัญญาณตรวจับที่ผิดพลาดได้ง่าย ต้องแบ่งวงจรโซนแจ้งสัญญาณที่สอดคล้องกับวงจรเริ่มสัญญาณเพื่อลดพื้นที่การแจ้งสัญญาณผิดพลาด
    3. พื้นที่ที่ใช้การแจ้งสัญญาณขั้นตอนเดียว เช่น พื้นที่สาธารณะ ต้องไม่แบ่งวงจรโซนแจ้งสัญญาณ แต่หากจำเป็นต้องแบ่งวงจรเพื่อรองรับอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเป็นจำนวนมากตามพิกัดกระแสไฟฟ้าที่แต่ละวงจรจะรองรับได้อุปกรณ์แจ้งสัญญาณทุกชุด ทุกวงจรจะต้องทำงานพร้อมกันในขั้นตอนเดียว
    4. สำหรับพื้นที่ใช้การแจ้งเตือนหลายขั้นตอน เช่น พื้นที่ส่วนบุคคล ต้องแบ่งวงจรเพื่อให้เกิดการแจ้งสัญญาณที่สอดคล้องกับวงจรเริ่มสัญญาณ
    5. อาคารขนาดเล็ก หรือพื้นที่สาธารณะในอาคาร หรือในชั้นที่มีวงจรโซนแจ้งสัญญาณเพียงวงจรเดียว การแจ้งสัญญาณจะเป็นการแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือการแจ้งสัญญาณอพยพเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในอาคารนั้นต้องอพยพออกจากอาคารทันที
    6. อาคารขนาดใหญ่ที่โครงสร้างอาคารและการใช้งานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การแจ้งสัญญาณอพยพตั้งแต่ในระยะแรกที่พบ หรือตรวจจับเพลิงไหม้ได้ อาจจำกัดอยู่เฉพาะพื้นที่หรือชั้นที่เป็นต้นเพลิง และพื้นที่หรือชั้นข้างเคียงที่อยู่ติดหรือถัดไป ตลอดจนชั้นที่อยู่เหนือขึ้นไปหนึ่งหรือสองชั้น และชั้นที่อยู่ถัดลงมาจากชั้นต้นเพลิงหนึ่งชั้น แต่พื้นที่อื่นหรือชั้นอื่นที่เหลือในอาคารจะเป็นการประกาศแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่นั้นได้รับทราบเหตุ และจะต้องเตรียมพร้อมรอการ แจ้งสัญญาณอพยพพื้นที่ หรือชั้นที่ตนอยู่เสียก่อนที่จะอพยพตามออกไป