Knowledge

อุปกรณ์ตรวจจับ FIRE ALARM DETECTOR

Chapter 3.1 อุปกรณ์ตรวจจับควัน (ชนิดจุด) POINT TYPE SMOKE DETECTOR อุปกรณ์ตรวจจับควันเป็นอุปกรณ์ป้องกันชีวิต และทรัพย์สิน ตำแหน่งติดตั้งในพื้นที่ป้องกันของอุปกรณ์ตรวจจับควัน พื้นที่มีสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต้องไม่ติดตั้งอุปกรณ์ พื้นที่อุณหภูมิแวดล้อมต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส พื้นที่อุณหภูมิแวดล้อมสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าร้อยละ 93 มีความเร็วลมสูงกว่า 300 ft/min (1.5 m/sec) พื้นที่มีอัตราการระบายอากาศสูง ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับให้ห่างจากจ่ายลมเย็น หรือช่องดูดลมกลับที่อยู่ในระนาบเดียวกันกับ อุปกรณ์ตรวจจับนั้น ไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร อัตราการระบายอากาศ (Air [...]

การแบ่งโซนการตรวจจับและโซนแจ้งสัญญาณการแบ่งโซนการตรวจจับของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

การแบ่งโซนของอุปกรณ์ตรวจจับ ต้องแบ่งให้แต่ละโซนมีขนาดเล็กและมีจำนวนโซนที่ครอบคลุมพื้นที่ป้องกันทั้งหมด เพื่อที่จะสามารถเข้าตรวจสอบและระงับเหตุได้โดยเร็วเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ การแบ่งโซนจะต้องสอดคล้องกับรูปแบบสถาปัตยกรรมและลักษณะการใช้งานในแต่ละพื้นที่ การแบ่งโซนโดยผนังทนไฟ อาคารที่กั้นพื้นที่ด้วยผนังทนไฟต้องแบ่งโซนตรวจจับโดยใช้แนวผนังทนไฟเป็นหลัก พื้นที่ปิดล้อมทนไฟแต่ละพื้นที่สามารถแบ่งโซนตรวจจับได้มากกว่า หนึ่งโซน โซนตรวจจับหนึ่งโซนสามารถครอบคลุมได้หลายพื้นที่ แม้จะมีส่วนปิดล้อมล้อมทนไฟแยกกัน หากไม่ทำให้ระยะค้นหายาวกว่าที่กำหนด              การแบ่งโซนเฉพาะ พื้นที่ ที่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับอัตโนมัติ และต้องแยกออกเป็นโซนอิสระ ดังนี้ พื้นที่หรือห้องปลอดควันไฟ เช่น โถงหน้าลิฟต์ดับเพลิง เส้นทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ เป็นต้น พื้นที่พิเศษหรือห้องที่มีความอันตราย เช่น ห้องเครื่องไฟฟ้าหลักของอาคาร ห้องเครื่องจักรกลทุกประเภท ห้องเก็บสารไวไฟหรือเชื้อเพลิง เป็นต้น เกณฑ์การแบ่งขนาดและจำนวนโซนอุปกรณ์ตรวจจับ พื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่มีลักษณะเปิดโล่งมองเห็นถึงกันได้ตลอด สามารถมีขนาดพื้นที่โซนตรวจจับได้ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือที่ติดตั้งบริเวณใกล้กับหน้าบันไดหรือห้องบันไดแบบปิดของแต่ละชั้น ห้องให้อยู่ในวงจรโซนตรวจจับเริ่มสัญญาณสำหรับพื้นที่ป้องกันในบริเวณเดียวกันของชั้นนั้น [...]

มาตรฐานการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

พื้นฐานการออกแบบ ทั่วไป ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ ระบบที่แจ้งเหตุให้ผู้ที่อยู่ในอาคารทราบอย่างรวดเร็ว ก่อนที่ไฟจะไหม้ลุกลาม จนเป็นอันตราย ต่อสิ่งมีชีวิต และทรัพย์สิน โดย ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เพื่อ ( ความปลอดภัยต่อชีวิต ) ต้องมีความไวในการตรวจจับ และเตือนภัยให้ผู้คนทราบได้โดยเร็วเพื่อให้มีเวลามากพอที่จะป้องกันหรือหนีไฟได้ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เพื่อ (ความปลอดภัยต่อทรัพย์สิน ) ต้องสามารถตรวจจับ และเตือนภัยได้ในระยะต้นๆ ของเพลิงที่ไหม้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ สามารถเข้าดับเพลิงไหม้เพื่อลดความเสียหาย การออกแบบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ การออกแบบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ตามมาตรฐานนี้ใช้สำหรับอาคารดังต่อไปนี้ อาคารขนาดเล็ก อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสูง อาคารสาธารณะ อาคารอยู่อาศัยรวม โรงงาน คลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า อาคารอยู่อาศัย ห้องแถว [...]