Knowledge chapter-3-1-อุปกรณ์ตรวจจับควัน-ชน อุปกรณ์ตรวจจับควัน (ชนิดจุด) POINT TYPE SMOKE DETECTOR อุปกรณ์ตรวจจับควันเป็นอุปกรณ์ป้องกันชีวิต และทรัพย์สิน ตำแหน่งติดตั้งในพื้นที่ป้องกันของอุปกรณ์ตรวจจับควันพื้นที่มีสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต้องไม่ติดตั้งอุปกรณ์พื้นที่อุณหภูมิแวดล้อมต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสพื้นที่อุณหภูมิแวดล้อมสูงกว่า 38 องศาเซลเซียสค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าร้อยละ 93มีความเร็วลมสูงกว่า 300 ft/min (1.5 m/sec)พื้นที่มีอัตราการระบายอากาศสูงติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับให้ห่างจากจ่ายลมเย็น หรือช่องดูดลมกลับที่อยู่ในระนาบเดียวกันกับ อุปกรณ์ตรวจจับนั้น ไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตรอัตราการระบายอากาศ (Air Change Rate) 15 ครั้งต่อชั่วโมง หมายถึง ปริมาตรอากาศในห้องที่ต้องระบายออกภายนอกให้หมดเป็นจำนวน 15 เท่าของปริมาตรห้องในเวลา 1 ชั่วโมงความสูงที่ติดตั้งอุปกณณ์ตรวจจับควันชนิดจุดเพดานสูงที่ไม่เกิน 3.50 เมตร ต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับโดยให้ส่วนตรวจจับอยู่ต่ำจากเพดานไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 600 มิลลิเมตรอุปกรณ์จรวจจับควันที่ติดตั้งเข้ากับผนัง ต้องติดที่ใกล้กับเพดาน หรือบริเวณที่ขอบล่างของส่วนตรวจจับต่ำจากเพดานไม่เกิน 300 มิลลิเมตรอุปกรณ์จรวจจับควันชนิดจุดติดตั้งได้ไนระดับความสูงไม่เกิน 10.50 เมตรตำแหน่งติดตั้งที่เพดานราบของอุปกรณ์ตรวจจับควัน ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ในช่องทางเดินช่องทางเดินกว้างไม่เกิน 3.60 เมตร มีเพดานระดับที่สูงไม่เกิน 3.0 เมตร โดยใช้รัศมีวงกลมพื้นที่ตรวจจับที่คาบเกี่ยว (overlap) ต่อเนื่องกัน จะมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับได้ไม่เกิน 12.00 เมตร และห่างผนังปลายทางได้ไม่เกิน 6.00 เมตรความสูงในการติดตั้งติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดาน ที่สูงจากพื้นไม่เกิน 10.5 เมตรระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับไม่เกิน 9.10 เมตร (s) คิดเป็นพื้นที่ตรวจจับไม่เกิน 6.30 เมตร (0.7s) โดยต้องติดห่างจากผนังกั้น หรือชั้นวาง ตำแหน่งติดตั้งที่เพดานทรงจั่วของอุปกรณ์ตรวจจับควันการติดตั้งแถวแรกต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับแถวแรกที่ด้านหนึ่งของเพดาน ในระยะหนึ่งที่อยู่ต่ำลงมาจากจุดสูงสุดของเพดานไม่น้อย กว่า 100 มิลลิเมตร จากเส้นแนวดิ่งและไม่เกิน 910 มิลลิเมตร จากเส้นแนวดิ่งของจั่วถึงเพดานแต่ละด้านพื้นที่ระเว้นต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับแถวแรกที่ด้านหนึ่งของเพดาน ในระยะหนึ่งที่อยู่ต่ำลงมาจากจุดสูงสุดของเพดานไม่น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร (วัดในแนวดิ่ง)ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับไม่เกิน 9.10 เมตร (s) คิดเป็นพื้นที่ตรวจจับไม่เกิน 6.30 เมตร (0.7s) โดยต้องติดห่างจากผนังกั้น หรือชั้นวางความสูงในการติดตั้งติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดาน ที่สูงจากพื้นไม่เกิน 10.5 เมตร อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (ชนิดจุดแบบอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ) POINT TYPE HEAT DETECTOR (RATE OF RISE) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนไม่ใช่เป็นอุปกรณ์ป้องกันชีวิต มีไว้เพื่อป้องกันทรัพย์สินเท่านั้น ระยะห่างจากช่องลมระบบปรับอากาศ(1) ต้องติดตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่กระแสลม อุณหภูมิ และความชื้นจากระบบปรับอากาศไม่รบกวนหรือมีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับนั้น(2) ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับให้ห่างจากช่องจ่ายลมเย็น หรือช่องดูดลมกลับที่อยู่ในระนาบเดียวกันกับอุปกรณ์ตรวจจับนั้น ไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตรความสูงที่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดานระดับราบที่สูงจากพื้นที่ไม่เกิน 3.0 เมตรจะมีระยะห่างที่กำหนด (listed spacing) ระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับไม่เกิน 9.1 เมตร มีรัศมีการตรวจจับ 6.3 เมตร พื้นที่ตรวจจับอย่างต่อเนื่อง 82.8 ตารางเมตรโดยต้องติดห่างจากผนังกั้น หรือชั้นวางของไม่เกิน 4.5 เมตรตำแหน่งติดตั้งที่เพดานราบของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนตำแหน่งติดตั้งสำหรับพื้นที่มีเพดานสูงอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจุดติดตั้งบนเพดานระดับราบที่สูง 3.0 เมตรจะมีระยะห่างที่กำหนด 9.10 เมตร และหากติดตั้งสูงเกินกว่า 3.0 เมตรต้องลดระยะห่างอุปกรณ์ตรวจจับ โดยใช้คูณลดระยะห่างที่กำหนดตามตาราง ตำแหน่งติดตั้งที่แนวระดับของตงหรือคานยื่นลงมาของอุปกรณ์ตรวจจับควัน และอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนคาน ( beam )คาน (beam) ที่ลึกหรือยื่นลงมาจากเพดานตั้งแต่ 100 มิลลิเมตร หรือมากกว่า มีระยะห่างระหว่างเส้นกึ่งกลางคานมากกว่า 1.00 เมตร ติดตั้งทั้งที่ใต้ตงและเพดานต้องลดระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับที่อยู่ในแนวตั้งฉากกับคานลงร้อยละ 33 หรือมีระยะห่างไม่เกินสองในสามของระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับบนเพดานระดับราบ (2/3s)คานลึกน้อยกว่า 300 มิลลิเมตรคานที่ลึกมากกว่า 300 มิลลิเมตร มีระยะห่าระหว่างเส้นกึ่งกลางคานมากกว่า 2.40 เมตร ให้ติดอุปกรณ์ตรวจจับ– ถ้า d/h มากกว่า 0.1 และ w/h น้อยกว่า 0.4 ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่ใต้คานแต่ละคานที่เพดานระหว่างคานดังรูป– ถ้า d/h มากกว่า 0.1 และ w/h มากกว่า 0.4 ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดานระหว่างคาน คานลึกน้อยกว่า 300 มิลลิเมตรคานที่ลึกน้อยกว่า 300 มิลลิเมตร มีระยะห่างระหว่างเส้นกึ่งกลางคานน้อยกว่า 2.40 เมตร ให้ติดอุปกรณ์ตรวจจับที่ใต้คานเพดานที่มีตงรองพื้น (solid joist)คานที่ยื่นลงมาจากเพดานไม่เกิน 100 มิลลิเมตร ให้ถือเป็นเพดานระดับราบปกติ
Knowledge มาตรฐานการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ พื้นฐานการออกแบบ ทั่วไประบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ ระบบที่แจ้งเหตุให้ผู้ที่อยู่ในอาคารทราบอย่างรวดเร็ว ก่อนที่ไฟจะไหม้ลุกลาม จนเป็นอันตราย ต่อสิ่งมีชีวิต และทรัพย์สิน โดยระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เพื่อ ( ความปลอดภัยต่อชีวิต ) ต้องมีความไวในการตรวจจับ และเตือนภัยให้ผู้คนทราบได้โดยเร็วเพื่อให้มีเวลามากพอที่จะป้องกันหรือหนีไฟได้ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เพื่อ (ความปลอดภัยต่อทรัพย์สิน ) ต้องสามารถตรวจจับ และเตือนภัยได้ในระยะต้นๆ ของเพลิงที่ไหม้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ สามารถเข้าดับเพลิงไหม้เพื่อลดความเสียหายการออกแบบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้การออกแบบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ตามมาตรฐานนี้ใช้สำหรับอาคารดังต่อไปนี้อาคารขนาดเล็กอาคารขนาดใหญ่อาคารขนาดใหญ่พิเศษอาคารสูงอาคารสาธารณะอาคารอยู่อาศัยรวมโรงงาน คลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้าอาคารอยู่อาศัย ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถวและบ้านแฝดประเภทของอาคารอาคารขนาดเล็กอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร มีพื้นที่ ในช่วง ( 500 m² ≤ พื้นที่ < 2,000 m² ) อาคารที่มีความสูงเป็น ( 15 m. ≤ ความสูง< 23 m.) และมีพื้นที่ ≤ 1,000 m².อาคารขนาดใหญ่อาคารที่มีพื้นที่รวม 2,000 m²หรืออาคารที่ ( 15 m. ≤ ความสูง < 23 m.) และมีพื้นที่ ≤ 2,000 m.อาคารใหญ่พิเศษอาคารที่มีพื้นที่รวม หรือชั้นใดชั้นหนึ่ง ≥ 10,000 m²อาคารสูงอาคารที่มีผู้คนใช้สอย และมีความสูง ≥ 23 m.อาคารสาธารณะอาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมผู้คนโดยทั่วไป เช่น ตลาด ห้างสรรพสินค้า ท่าอากาศยาน เป็นต้นอาคารอาศัยรวมอาคาร หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายรอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกัน สำหรับแต่ละครอบครัวคลังสินค้าอาคาร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สำหรับเก็บสินค้าหรือสิ่งของที่ไม่อันตราย เช่น วัตถุระเบิด สารเคมี เป็นต้นอาคารอาศัย และตึกแถวอาคารที่ก่อสร้างต่อเนื่องกันเป็นแถวยาวตั้งแต่สองคูหาขึ้นไป มีผนังแบ่งอาคารเป็นคูหาและประกอบด้วยวัสดุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ส่วนประกอบของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในแต่ละประเภทอาคารการออกแบบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ตามมาตรฐานนี้ใช้สำหรับอาคารดังต่อไปนี้ องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงประเภทของอาคารพื้นที่ปลอดควันไฟพื้นที่ห่วงห้าม เช่น ห้องไฟฟ้าหลักความสามารถในการทนไฟจำนวนความหนาแน่นของคนในอาคาร เช่น สถานีขนส่งเป็นต้นอันตรายจากวัสดุหรือเชื้อเพลิงในอาคาร
Knowledge การแบ่งโซนการตรวจจับและโซนแจ้งสัญญาณการแบ่งโซนการตรวจจับของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ การแบ่งโซนของอุปกรณ์ตรวจจับต้องแบ่งให้แต่ละโซนมีขนาดเล็กและมีจำนวนโซนที่ครอบคลุมพื้นที่ป้องกันทั้งหมด เพื่อที่จะสามารถเข้าตรวจสอบและระงับเหตุได้โดยเร็วเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ การแบ่งโซนจะต้องสอดคล้องกับรูปแบบสถาปัตยกรรมและลักษณะการใช้งานในแต่ละพื้นที่การแบ่งโซนโดยผนังทนไฟอาคารที่กั้นพื้นที่ด้วยผนังทนไฟต้องแบ่งโซนตรวจจับโดยใช้แนวผนังทนไฟเป็นหลัก พื้นที่ปิดล้อมทนไฟแต่ละพื้นที่สามารถแบ่งโซนตรวจจับได้มากกว่า หนึ่งโซน โซนตรวจจับหนึ่งโซนสามารถครอบคลุมได้หลายพื้นที่ แม้จะมีส่วนปิดล้อมล้อมทนไฟแยกกัน หากไม่ทำให้ระยะค้นหายาวกว่าที่กำหนด การแบ่งโซนเฉพาะพื้นที่ ที่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับอัตโนมัติ และต้องแยกออกเป็นโซนอิสระ ดังนี้พื้นที่หรือห้องปลอดควันไฟ เช่น โถงหน้าลิฟต์ดับเพลิง เส้นทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ เป็นต้นพื้นที่พิเศษหรือห้องที่มีความอันตราย เช่น ห้องเครื่องไฟฟ้าหลักของอาคาร ห้องเครื่องจักรกลทุกประเภท ห้องเก็บสารไวไฟหรือเชื้อเพลิง เป็นต้นเกณฑ์การแบ่งขนาดและจำนวนโซนอุปกรณ์ตรวจจับพื้นที่เปิดโล่งพื้นที่มีลักษณะเปิดโล่งมองเห็นถึงกันได้ตลอด สามารถมีขนาดพื้นที่โซนตรวจจับได้ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตรอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมืออุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือที่ติดตั้งบริเวณใกล้กับหน้าบันไดหรือห้องบันไดแบบปิดของแต่ละชั้น ห้องให้อยู่ในวงจรโซนตรวจจับเริ่มสัญญาณสำหรับพื้นที่ป้องกันในบริเวณเดียวกันของชั้นนั้น ยกเว้นอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือที่ติดตั้งบริเวณประตูช่องปล่อยออก ปลายบันไดชั้นล่างที่เปิดออกสู่ภายนอกอาคารต้องอยู่ในวงจรโซนตรวจับเริ่มสัญญาณสำหรับช่องบันไดระยะค้นหาการแบ่งโซนตรวจจับ ต้องไม่ทำให้ระยะค้นหาเกิน 30 เมตรโซนตรวจจับและหัวกระจายน้ำพื้นที่ติดตั้งหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ และไม่ได้เป็นพื้นที่ป้องกันชีวิต สามารถกำหนดขนาดของโซนตรวจจับเท่ากับขนาดของโซนหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ และใช้สวิตช์ตรวจการไหลของน้ำเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ตรวจจับเริ่มสัญญาณในวงจรโซนตรวจคุมนั้นห้องที่มีช่องเปิดที่อยู่เหนือระดับพื้นห้องห้องที่มีช่องเปิดที่อยู่เหนือระดับพื้นห้อง หรือมีช่องเปิดที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นห้องหากห้องและช่องเปิดนั้นกั้นแยกจากพื้นที่อื่นด้วยผนังหรือส่วนปิดล้อมทนไฟเดียวกันสามารถกำหนดให้ห้องและช่องปิดนั้นใช้วงจรโซนตรวจับเริ่มสัญญาณเดียวกันได้เกณฑ์การแบ่งขนาดและจำนวนโซนอุปกรณ์ตรวจจับพื้นที่ในแต่ละโซนตรวจจับพื้นที่แต่ละโซนตรวจจับในชั้นเดียวกันต้องไม่เกิน 1,000 ตารางเมตรอาคารขนาดไม่เกิน 500 ตารางเมตรพื้นที่อาคารทั้งหมดหากมีขนาดไม่เกิน 500 ตารางเมตรสามารถมีโซนตรวจจับเพียงหนึ่งโซนได้ ถึงแม้ว่าอาคารจะมีหลายชั้นระยะค้นหาการแบ่งโซนตรวจจับต้องไม่ทำให้ระยะค้นหาเกิน 30 เมตรอาคารขนาดเกิน 500 ตารางเมตรพื้นที่อาคารทั้งหมดหากมีขนาดเกิน 500 ตารางเมตร และสูงเกิน 3 ชั้นจะต้องแบ่งโซนตรวจจับอย่างน้อยชั้นละหนึ่งโซนระบบที่สามารถระบุตำแหน่ง เกณฑ์การแบ่งโซนแจ้งสัญญาณต้องแบ่งวงจรโซนแจ้งสัญญาณโดยใช้ผนังทนไฟเป็นแนวแบ่งโซนสำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการเริ่มสัญญาณตรวจับที่ผิดพลาดได้ง่าย ต้องแบ่งวงจรโซนแจ้งสัญญาณที่สอดคล้องกับวงจรเริ่มสัญญาณเพื่อลดพื้นที่การแจ้งสัญญาณผิดพลาดพื้นที่ที่ใช้การแจ้งสัญญาณขั้นตอนเดียว เช่น พื้นที่สาธารณะ ต้องไม่แบ่งวงจรโซนแจ้งสัญญาณ แต่หากจำเป็นต้องแบ่งวงจรเพื่อรองรับอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเป็นจำนวนมากตามพิกัดกระแสไฟฟ้าที่แต่ละวงจรจะรองรับได้อุปกรณ์แจ้งสัญญาณทุกชุด ทุกวงจรจะต้องทำงานพร้อมกันในขั้นตอนเดียวสำหรับพื้นที่ใช้การแจ้งเตือนหลายขั้นตอน เช่น พื้นที่ส่วนบุคคล ต้องแบ่งวงจรเพื่อให้เกิดการแจ้งสัญญาณที่สอดคล้องกับวงจรเริ่มสัญญาณอาคารขนาดเล็ก หรือพื้นที่สาธารณะในอาคาร หรือในชั้นที่มีวงจรโซนแจ้งสัญญาณเพียงวงจรเดียว การแจ้งสัญญาณจะเป็นการแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือการแจ้งสัญญาณอพยพเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในอาคารนั้นต้องอพยพออกจากอาคารทันทีอาคารขนาดใหญ่ที่โครงสร้างอาคารและการใช้งานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การแจ้งสัญญาณอพยพตั้งแต่ในระยะแรกที่พบ หรือตรวจจับเพลิงไหม้ได้ อาจจำกัดอยู่เฉพาะพื้นที่หรือชั้นที่เป็นต้นเพลิง และพื้นที่หรือชั้นข้างเคียงที่อยู่ติดหรือถัดไป ตลอดจนชั้นที่อยู่เหนือขึ้นไปหนึ่งหรือสองชั้น และชั้นที่อยู่ถัดลงมาจากชั้นต้นเพลิงหนึ่งชั้น แต่พื้นที่อื่นหรือชั้นอื่นที่เหลือในอาคารจะเป็นการประกาศแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่นั้นได้รับทราบเหตุ และจะต้องเตรียมพร้อมรอการ แจ้งสัญญาณอพยพพื้นที่ หรือชั้นที่ตนอยู่เสียก่อนที่จะอพยพตามออกไป
Event ansul-sapphire-plus-system-seminar สัมมนาเทคโนโลยีระบบดับเพลิงอัตโนมัติClean Agent Fire Suppression System (Sapphire Plus 70 Bar)บริษัท อลาร์ม ซีสเต็ม โซลูชั่นส์ จำกัด ผู้แทนนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าระบบดับเพลิงอัตโนมัติ โดยตรงจากโรงงานผู้ผลิตที่ได้มาตราฐานสากล ภายใต้แบรนด์สินค้า ANSUL ได้จัดกิจกรรมสัมมนาเทคโนโลยีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ “Clean Agent Fire Suppression System (Sapphire Plus 70 Bar)” เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2562 ณ Swissotel Bangkok, Ratchada ที่ผ่านมาโดยในงานได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชียวชาญทางด้านระบบดับเพลิงอัตโนมัติและมาตรฐาน NFPA2001 ทั้งในไทยและต่างประเทศ มาบรรยายให้ความรู้และตอบข้อซักถามต่าง ๆ นำทีมโดยคุณภัทระ บุญช่วย กรรมการผู้จัดการ บริษัท อลาร์ม ซีสเต็ม โซลูชั่นส์ จำกัด, คุณจุลดิษย์ จายนีย์โยธิน กรรมการสาขาวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย วสท., Ms. Audrey Tan (Business Development Manager, Special Hazard, SEA), Mr. Shiju SB (Product Manager, Special Hazards, ASIA PACIFIC) จาก ANSUL ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ภายในงานนอกจากจะได้รับฟังการบรรยายต่างๆแล้ว ยังมีในส่วนของกิจกรรมสาธิตคุณสมบัติของสารสะอาด (3M NOVEC 1230) ที่ใช้ในระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วย รวมถึงของที่ระลึกต่างๆ มากมายภายในงาน
Event asia-fire-detection-distributor-meeting-2019 Asia Fire Detection Distributor Meeting 2019 บริษัท อลาร์ม ซีสเต็ม โซลูชั่นส์ จำกัด ผู้แทนนำเข้าและจัดจำหน่วยระบบสัญญาแจ้งเหตุเพลิงไหม้ โดยตรงจากโรงงานผู้ผลิตภายใต้แบรนด์สินค้ายี่ห้อ SIMPLEX ซึ่งทางบริษัทฯ มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมงาน “Asia Fire Detection Distributor Meeting 2019”ณ วีรันดา ไฮ รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 6 – 8 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา สำหรับปีนี้พิเศษกว่าปีไหนๆ เนื่องจากกิจกรรมจัดขึ้นที่ประเทศไทย ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติท่ามกลางหุบเขาและดอกไม้นานาพันธุ์ที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้เหล่า Distributor จากทั่วภูมิภาค ASIA ได้มีโอกาสพบปะสังสรรและพูดคุย แลกเปลี่ยนไอเดียต่างๆเพื่อเป็นการสารสัมพันธ์อันดีต่อกัน นอกจากนี้ภายในงานยังได้จัดกิจกรรม มอบใบประกาศนียบัตร พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับเหล่า Distributorที่มียอดจำหน่ายทะลุเป้า เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับตัวแทนทั่วภูมิภาคเอเชียอีกด้วย
Event temca-metaverse-exhibition-pattaya-2022 TEMCA METAVERSE & EXHIBITION PATTAYA 2022 “ โลกนฤมิต วิศวกรรมงานระบบ ”เมื่อวันที่ 2-3 กันยายน 2565 ในงานแสดงผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและเครื่องกล“TEMCA METAVERSE & EXHIBITION PATTAYA 2022”“โลกนฤมิต วิศวกรรมงานระบบ” เมื่อวันที่ 2-3 กันยายน 2565 ที่ผ่านมานะครับ
Event รับโล่ห์ประกาศเกียรติค เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 คุณภัทระ บุญช่วย กรรมการผู้จัดการ เข้ารับโล่ห์ประกาศเกียรติคุณ ❝ Distributor Award 100 % Club ❞ จากทาง Johnson Control ณ โรงแรม Shilla Monogram Quangnam Danang, Vietnam ที่ผ่านมา ซึ่งการจัดพิธีมอบโล่ห์ประกาศเกียรติคุณ รางวัล ❝ Distributor Award & Gala Dinner ❞ จากตัวแทนทั้งหมดในโซนภาคพื้นเอเชีย 🏆รางวัลแห่งความภาคภูมิใจในครั้งนี้ ทางบริษัทฯ ต้องขอขอบพระคุณลูกค้าทุกท่านที่ให้การสนับสนุน ไว้วางใจในการเข้ารับบริการ และผลักดันให้เกิดความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ ทั้งด้านการบริการหลังการขาย และการส่งมอบ อย่างต่อเนื่อง เราสัญญาว่าจะมุ่งมั่นพัฒนาบุคลากร ส่งมอบสินค้าและการบริการที่ดีที่สุด อย่างครบวงจร ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้สูงสุด ดังปณิธาน ที่ตั้งมั่นว่า… ❝ สร้างผลงานอย่างมืออาชีพ เป็นหนึ่งด้านระบบดับเพลิงสร้างความประทับใจสำหรับลูกค้าอย่างแท้จริง ❞🙏🏻ตลอดไปครับ🙏🏻