TEMCA RUN 2025 “Run for 40th Anniversary”

🏅ทีมงานอลาร์มพร้อมครับ
TEMCA RUN 2025 “Run for 40th Anniversary”พี่น้องผองเพื่อนชาว TEMCA และนักวิ่งผู้รักสุขภาพทุกท่าน ณ สเตเดียมวัน ถนนบรรทัดทอง ปทุมวัน กรุงเทพฯ

งานสัมมนาในหัวข้อ “Fire System 360° Revolution” ที่ศูนย์ฝึกอบรมนวนคร​

ขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมงานสัมมนาในหัวข้อ “FIRE SYSTEM 360° REVOLUTION”

🎉

เจาะลึกนวัตกรรมระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ยุคใหม่ ที่วิศวกรบำรุงรักษาและเจ้าหน้าที่ จป. ต้องรู้! 🔥

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ฝึกอบรมนวนคร โครงการนวพลาซ่า

ทางบริษัทฯ ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติสละเวลาเข้าร่วม แลกเปลี่ยนความรู้ และร่วมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างเข้มข้นและเป็นกันเอง

🙏 ขอขอบพระคุณ ดร.ไพบูลย์ นาสำราญ วิทยากรที่ให้เกียรติมาร่วมถ่ายทอดความรู้ด้านมาตรฐาน เทคโนโลยี และเทคนิคของระบบ Fire Alarm System อย่างเต็มอิ่ม

ทางเราหวังว่าทุกท่านจะได้รับความรู้และประสบการณ์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ครับ

แล้วพบกันใหม่ในโอกาสหน้าครับ 😊

งานฉลองครบรอบ 7 ปีของบริษัท

ล่องเรือดินเนอร์ White Orchid Cruise เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา

✨🎉 7 ปีแห่งความสำเร็จและความทรงจำดี ๆ 🥰💖

Happy 7th Anniversary – Alarm System Solutions

ก้าวต่อไปด้วยกัน!

จากก้าวเล็ก ๆ ในวันแรก สู่ก้าวที่แข็งแรงและมั่นคงในวันนี้

💙🤍Alarm System Solutions 🤍💙

ขอขอบคุณพนักงานทุกคนที่เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนบริษัทให้เติบโตอย่างต่อเนื่องทุกความพยายาม ทุกความตั้งใจที่ทุ่มเท คือเสาหลักของความสำเร็จในวันนี้และเราจะไม่หยุดเพียงเท่านี้… เพราะเส้นทางข้างหน้ายังมีโอกาสและความสำเร็จรออยู่มากมาย

ขอบคุณที่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวอลาร์มเราจะเติบโตไปด้วยกัน และแข็งแรงกว่าที่เคย!

อลาร์ม ปันน้ำใจ เพื่อน้อง ครั้งที่2

“อลาร์ม ปันน้ำใจ เพื่อน้อง ครั้งที่ 2”

กิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) CSR ณ โรงเรียนบ้านทิพโสต ต.ดอนกลาง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

บริษัท อลาร์ม ซีสเต็ม โซลูชั่นส์ จำกัด ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) หรือ CSR ซึ่งเป็นการร่วมแรงร่วมใจให้มีจิตสาธารณะมากยิ่งขึ้น นอกจากการทำกิจกรรมจิตอาสาจะได้ช่วยเหลือสังคมแล้วนั้น ยังได้ทำให้คนในองค์กรได้มีความสามัคคีมากขึ้นอีกด้วยซึ่งในปัจจุบันการมองไปที่ผลกำไรเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่สิ่งที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ บริษัทฯจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญและได้มีการริเริ่มกิจกรรม CSR เพื่อสร้างเสริมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป โดยโครงการช่วยเหลือสังคมดี ๆ ในครั้งนี้ โครงการจิตอาสา “อลาร์ม ปันน้ำใจ เพื่อน้อง ครั้งที่ 2” ทางบริษัทฯ ร่วมสมทบทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์กีฬาให้แก่น้องๆ ณ โรงเรียนบ้านทิพโสต เพื่อสนับสนุนให้น้อง ๆ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์กับการออกกำลังกาย ส่งเสริมสุขภาพที่แข็งแรงให้กับน้อง ๆ นำโดย คุณภัทระ บุญช่วย กรรมการผู้จัดการ และ พนักงานบริษัทฯ

🙏

🥰

chapter-3-4-อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพ

อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง FLAME DETECTOR

  • ประเภทอุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง
    • การเลือกประเภทของอุปกรณ์
      • ผู้ใช้งานต้องมีความเข้าใจหลักการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง (แบบอินฟราเรดและอัลตราไวโอเลต) เพื่อการเลือกใช้ที่ถูกต้องเหมาะสม กับความเสี่ยงของสถานที่และระดับของการป้องกัน โดยการติดตั้งต้องทำตามคำแนะนำของผู้ผลิต ตามชนิดของอุปกรณ์ที่เลือกใช้
  • รูปแบบพื้นที่และระยะของอุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง
  1. มุมมองของอุปกรณ์ตรวจจับ
    • อุปกรณ์ตรวจจับต้องใช้เลนส์ที่ให้มุมมองครอบคลุมพื้นที่ หรือสิ่งที่ต้องการป้องกันได้โดยการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับหลายชุดเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของการตรวจจับ
  2. อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง
    • ต้องไม่ติดตั้งให้เกิดเงาหรือจุดบอดบนพื้นที่ที่ป้องกัน
      พื้นที่ที่ไม่ได้รับการป้องกันที่เกิดขึ้นจากการบังของวัตถุ เช่นสิ่งของบนชั้นเก็บของสูงๆ ต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับเพิ่มเติมที่จุดนั้น
  3. อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิงต้องติดตั้งไม่ให้มีวัตถุมากีดขวาง
    • หรือมีโครงสร้างของอาคารมาบัง หรืออยู่ในแนวมุมตรวจจับของอุปกรณ์ (field of view) ตำแหน่ง ติดตั้งต้องเข้าทำการบำรุงรักษาได้สะดวก เช่น การทำความสะอาดเลนส์ และต้องไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับใกล้แสงสว่างจ้า หรือหลังกระจกใส หรือแผงโปร่งแสงใดๆ ที่บังการรับการแผ่รังสีจากเปลวเพลิง
  • ระยะห่างและตำแหน่งติดตั้งของอุปกรณ์ตรวจจับ
    • ระยะห่างและตำแหน่งติดตั้งของอุปกรณ์ตรวจจับ
      • ระยะห่างจากจุดกำเนิดไฟถึงอุปกรณ์ตรวจจับ มีผลต่อความเข้มของการแผ่รังสี โดยความเข้มข้นของรังสีที่มาถึงอุปกรณ์ตรวจจับจะลดลง ในปริมาณที่ผกผันของระยะห่างยกกำลังสองโดยประมาณ ดังนั้นหากระยะห่างเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ความเข้มของการแผ่รังสีจากจุดกำเนิดไฟจะต้องมีมากขึ้นถึง 4 เท่าจากเดิม จึงจะทำให้อุปกรณ์ตรวจจับทำงาน
    • การพิจารณามุมมอง
      • อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง จะทำงานตรวจจับได้เฉพาะ
        ในแนวที่มองเห็นได้โดยตลอด จากจุดที่เป็นต้นกำเนิดไฟเท่านั้น ในระยะทางที่มีความไวในการตรวจจับสูงสุด โดยจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบแวดล้อมอื่นควบคู่ไปด้วย
    • การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ
      • อุปกรณ์ตรวจับต้องติดตั้งบนฐานที่มั่นคงไม่สั่นไหว อันทำให้เกิดการเริ่มสัญญาณที่ผิดพลาด
    • ระยะห่างและตำแหน่งติดตั้งของอุปกรณ์ตรวจจับ

chapter-3-3อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิ

อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศหลายจุด

(MULTIPOINT ASPIRATED SMOKE DETECTOR)

  • คุณลักษณะของอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศหลายจุด
    1. อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศหลายจุด
      • Multipoint Aspirated Smoke Detector คือ อุปกรณ์ตรวจจับควันที่ประกอบด้วยท่อดูดอากาศ พื้นที่ป้องกันกลับมายังเครื่องตรวจจับควันด้วยปั๊มดูดอากาศขนาดเล็ก โดยท่ออาจมีรูสำหรับดูดสุ่มตัวอย่างอากาศได้ตั้งแต่หนึ่งรูขึ้นไป ซึ่งจุดสุ่มตัวอย่างอากาศแต่ละจุด ถือเสมือนเป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด และต้องใช้ระยะห่างตามมาตรฐานของอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด โดยท่อต้องมีขนาด ความยาว จำนวนรู และขนาดของรู เป็นไปตามที่ผู้ผลิตกำหนด โดยขนาดของพื้นที่สำหรับโซน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
    2. ระยะห่างระหว่างรูสุ่มตัวอย่าง
      • จะต้องไม่เกินกว่าระยะห่าง ระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด
    3. อากาศที่ถูกดูดผ่านจุดสุ่มตัวอย่างที่จุดไกลสุด
      • มาถึงจุดตรวจจับ จะต้องใช้เวลาไม่เกิน 120 วินาที
    4. จุดสุ่มตัวอย่างแต่ละจุด
      • จะต้องมีรูสุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเหมาะสมที่ให้ระบบทำงานได้โดยสะดวกและถูกต้อง
  • โซนและพื้นที่ของอุปกรณ์ตรวจจับ
    1. โซนตรวจจับด้วยอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศ
      • แต่ละโซนสามารถมีขนาดพื้นที่โซนได้ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร
    2. พื้นที่ของการตรวจจับ
      • ห้องที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 46 ตารางเมตรจะต้องมีจุดสุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไป
    3. ระบบท่อสุ่มตัวอย่าง
      • การออกแบบระบบท่อดูดอากาศ รวมทั้งการกำหนดขนาดท่อ และการคำนวณปริมาตร การไหลของอากาศผ่านท่อจะต้องทำให้ระบบมีความไวในการตรวจจับที่เท่ากัน
    4. ปริมาณการไหล
      • การออกแบบระบบท่อสุ่มตัวอย่าง จะต้องทำให้ปริมาตรการไหลของอากาศจากรูสุ่มตัวอย่างทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปริมาตรอากาศที่ดูดผ่านรูสุ่มตัวอย่างที่อยู่ใกล้จุดตรวจจับมากที่สุด
  • อุปกรณ์ตรวจจับชนิดสุ่มในท่ออากาศ
    • รูปแบบและส่วนประกอบของการติดตั้ง

chapter-3-2อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิ

อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสง BEAM TYPE SMOKE DETECTOR

  • ตำแหน่งติดตั้งของพื้นที่ป้องกัน
    • อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสง ให้การตรวจจับที่มีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุดที่เรียงต่อกัน สำหรับเพดานระดับราบ และเพดานทรงจั่วสามารถใช้ข้อกำหนดเดียวกับอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุดได้
      1. ติดตั้งได้ในระดับความสูงไม่ต่ำกว่า 2.70 เมตร แต่ไม่เกิน 25.00 เมตร
      2. ติดตั้ง ในระดับที่ควันสามารถกระจายหรือลอยตัวผ่านขึ้นไปจนถึงลำแสงของอุปกรณ์ตรวจจับ
        ควันได้ โดยอุปกรณ์ส่วนที่รับลำแสงต้องไม่ถูกกับแสงแดดโดยตรง หรือแสงจ้ามากๆ จนอาจทำให้ทำงานผิดพลาดได้
      3. ต้องติดตั้งต่ำจากเพดานไม่น้อนกว่า 300 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 750 มิลลิเมตร เพื่อลดผลกระทบจากระดับของชั้นอากาศร้อนใต้เพดาน (Stratification Effect)
  • ตำแหน่งติดตั้งของพื้นที่ป้องกัน
    1. ระยะห่างจากผนังหรือผิวติดตั้งในแนวตั้งฉากกับลำแสงต้องไม่เกิน 3.5 เมตรหรือ ¼ เท่า ของระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แต่ละชุด
  • ตำแหน่งติดตั้งในพื้นที่ที่มีเพดานลาดเอียง
    1. ต้องติดตั้งชุดตัวส่ง และแผ่นสะท้อน หรือชุดตัวส่งและตัวรับให้ลำแสงขนานกับแนวระดับไปตามความลาดเอียงของเพดาน โดยใช้ระยะห่างระหว่างชุดอุปกรณ์ใต้เพดานระดับราบ
  • การวัดระยะห่างระหว่างชุดอุปกรณ์ตรวจจับของเพดานลาดเอียง
    • การวัดระยะห่างติดตั้งระหว่างชุดอุปกรณ์ตรวจจับในแนวเพดานลาดเอียงต้องวัดในแนวระดับราบ
  • การวัดความสูงของเพดานลาดเอียง
    • เพื่อกำหนดตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ ตรวจจับต้องวัดจากเพดานลงมาถึงพื้นในแนวดิ่งในแต่ละระดับลาดเอียงที่เพดาน
  • ระยะห่างแต่ละชุด
    • ต้องไม่เกิน 14.00 เมตรอุปกรณ์ชุดอยู่ใกล้ผนังกั้นแบ่งพื้นที่ในแนวขนานกับลำแสง ต้องติดห่างจากผนังไม่เกิน 7.00 เมตรหรือ ½ เท่าของระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แต่ละชุด

องค์ประกอบของอุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสง

  • Beam Control Station
    • Beam Control Station คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าส่งสัญญาณของ Smoke Beam Detector ไปยังตู้ควบคุมระบบ Fire Alarm System อีกทั้งยังสามารถ Alignment และ Test สถานะการทำงานผ่านทาง Beam Control Station ได้เพื่อง่ายต่อการ Service และ Maintenance
  • Smoke Beam Detector
    • Smoke Beam Detector คือ อุปกรณ์ตรวจจับที่ประกอบไปด้วย Transmitter IR ที่ทำหน้าที่เป็นตัวส่งคลื่น IRและ อุปกรณ์ที่เป็นตัวรับ Receiver IR ทำหน้าที่รับคลื่น IR ที่สะท้อนกลับมา
  • Prism Reflector
    • Prism Reflectorคืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับสะท้อนคลื่น infrared signal ที่ส่งมาจาก Smoke Beam Detector