การแบ่งโซนของอุปกรณ์ตรวจจับ
-
- ต้องแบ่งให้แต่ละโซนมีขนาดเล็กและมีจำนวนโซนที่ครอบคลุมพื้นที่ป้องกันทั้งหมด เพื่อที่จะสามารถเข้าตรวจสอบและระงับเหตุได้โดยเร็วเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ การแบ่งโซนจะต้องสอดคล้องกับรูปแบบสถาปัตยกรรมและลักษณะการใช้งานในแต่ละพื้นที่
การแบ่งโซนโดยผนังทนไฟ
-
- อาคารที่กั้นพื้นที่ด้วยผนังทนไฟต้องแบ่งโซนตรวจจับโดยใช้แนวผนังทนไฟเป็นหลัก พื้นที่ปิดล้อมทนไฟแต่ละพื้นที่สามารถแบ่งโซนตรวจจับได้มากกว่า หนึ่งโซน โซนตรวจจับหนึ่งโซนสามารถครอบคลุมได้หลายพื้นที่ แม้จะมีส่วนปิดล้อมล้อมทนไฟแยกกัน หากไม่ทำให้ระยะค้นหายาวกว่าที่กำหนด
การแบ่งโซนเฉพาะ
-
- พื้นที่ ที่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับอัตโนมัติ และต้องแยกออกเป็นโซนอิสระ ดังนี้
-
- พื้นที่หรือห้องปลอดควันไฟ เช่น โถงหน้าลิฟต์ดับเพลิง เส้นทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ เป็นต้น
- พื้นที่พิเศษหรือห้องที่มีความอันตราย เช่น ห้องเครื่องไฟฟ้าหลักของอาคาร ห้องเครื่องจักรกลทุกประเภท ห้องเก็บสารไวไฟหรือเชื้อเพลิง เป็นต้น
เกณฑ์การแบ่งขนาดและจำนวนโซนอุปกรณ์ตรวจจับ
-
- พื้นที่เปิดโล่ง
-
- พื้นที่มีลักษณะเปิดโล่งมองเห็นถึงกันได้ตลอด สามารถมีขนาดพื้นที่โซนตรวจจับได้ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร
-
- อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ
-
- อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือที่ติดตั้งบริเวณใกล้กับหน้าบันไดหรือห้องบันไดแบบปิดของแต่ละชั้น ห้องให้อยู่ในวงจรโซนตรวจจับเริ่มสัญญาณสำหรับพื้นที่ป้องกันในบริเวณเดียวกันของชั้นนั้น ยกเว้นอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือที่ติดตั้งบริเวณประตูช่องปล่อยออก ปลายบันไดชั้นล่างที่เปิดออกสู่ภายนอกอาคารต้องอยู่ในวงจรโซนตรวจับเริ่มสัญญาณสำหรับช่องบันได
-
- ระยะค้นหา
-
- การแบ่งโซนตรวจจับ ต้องไม่ทำให้ระยะค้นหาเกิน 30 เมตร
-
- โซนตรวจจับและหัวกระจายน้ำ
-
- พื้นที่ติดตั้งหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ และไม่ได้เป็นพื้นที่ป้องกันชีวิต สามารถกำหนดขนาดของโซนตรวจจับเท่ากับขนาดของโซนหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ และใช้สวิตช์ตรวจการไหลของน้ำเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ตรวจจับเริ่มสัญญาณในวงจรโซนตรวจคุมนั้น
-
- ห้องที่มีช่องเปิดที่อยู่เหนือระดับพื้นห้อง
-
- ห้องที่มีช่องเปิดที่อยู่เหนือระดับพื้นห้อง หรือมีช่องเปิดที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นห้องหากห้องและช่องเปิดนั้นกั้นแยกจากพื้นที่อื่นด้วยผนังหรือส่วนปิดล้อมทนไฟเดียวกันสามารถกำหนดให้ห้องและช่องปิดนั้นใช้วงจรโซนตรวจับเริ่มสัญญาณเดียวกันได้
-
- พื้นที่เปิดโล่ง
เกณฑ์การแบ่งขนาดและจำนวนโซนอุปกรณ์ตรวจจับ
-
- พื้นที่ในแต่ละโซนตรวจจับ
-
- พื้นที่แต่ละโซนตรวจจับในชั้นเดียวกันต้องไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร
-
- อาคารขนาดไม่เกิน 500 ตารางเมตร
-
- พื้นที่อาคารทั้งหมดหากมีขนาดไม่เกิน 500 ตารางเมตรสามารถมีโซนตรวจจับเพียงหนึ่งโซนได้ ถึงแม้ว่าอาคารจะมีหลายชั้น
-
- ระยะค้นหา
-
- การแบ่งโซนตรวจจับต้องไม่ทำให้ระยะค้นหาเกิน 30 เมตร
-
- อาคารขนาดเกิน 500 ตารางเมตร
-
- พื้นที่อาคารทั้งหมดหากมีขนาดเกิน 500 ตารางเมตร และสูงเกิน 3 ชั้นจะต้องแบ่งโซนตรวจจับอย่างน้อยชั้นละหนึ่งโซน
-
- พื้นที่ในแต่ละโซนตรวจจับ
ระบบที่สามารถระบุตำแหน่ง
เกณฑ์การแบ่งโซนแจ้งสัญญาณ
-
- ต้องแบ่งวงจรโซนแจ้งสัญญาณโดยใช้ผนังทนไฟเป็นแนวแบ่งโซน
- สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการเริ่มสัญญาณตรวจับที่ผิดพลาดได้ง่าย ต้องแบ่งวงจรโซนแจ้งสัญญาณที่สอดคล้องกับวงจรเริ่มสัญญาณเพื่อลดพื้นที่การแจ้งสัญญาณผิดพลาด
- พื้นที่ที่ใช้การแจ้งสัญญาณขั้นตอนเดียว เช่น พื้นที่สาธารณะ ต้องไม่แบ่งวงจรโซนแจ้งสัญญาณ แต่หากจำเป็นต้องแบ่งวงจรเพื่อรองรับอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเป็นจำนวนมากตามพิกัดกระแสไฟฟ้าที่แต่ละวงจรจะรองรับได้อุปกรณ์แจ้งสัญญาณทุกชุด ทุกวงจรจะต้องทำงานพร้อมกันในขั้นตอนเดียว
- สำหรับพื้นที่ใช้การแจ้งเตือนหลายขั้นตอน เช่น พื้นที่ส่วนบุคคล ต้องแบ่งวงจรเพื่อให้เกิดการแจ้งสัญญาณที่สอดคล้องกับวงจรเริ่มสัญญาณ
- อาคารขนาดเล็ก หรือพื้นที่สาธารณะในอาคาร หรือในชั้นที่มีวงจรโซนแจ้งสัญญาณเพียงวงจรเดียว การแจ้งสัญญาณจะเป็นการแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือการแจ้งสัญญาณอพยพเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในอาคารนั้นต้องอพยพออกจากอาคารทันที
- อาคารขนาดใหญ่ที่โครงสร้างอาคารและการใช้งานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การแจ้งสัญญาณอพยพตั้งแต่ในระยะแรกที่พบ หรือตรวจจับเพลิงไหม้ได้ อาจจำกัดอยู่เฉพาะพื้นที่หรือชั้นที่เป็นต้นเพลิง และพื้นที่หรือชั้นข้างเคียงที่อยู่ติดหรือถัดไป ตลอดจนชั้นที่อยู่เหนือขึ้นไปหนึ่งหรือสองชั้น และชั้นที่อยู่ถัดลงมาจากชั้นต้นเพลิงหนึ่งชั้น แต่พื้นที่อื่นหรือชั้นอื่นที่เหลือในอาคารจะเป็นการประกาศแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่นั้นได้รับทราบเหตุ และจะต้องเตรียมพร้อมรอการ แจ้งสัญญาณอพยพพื้นที่ หรือชั้นที่ตนอยู่เสียก่อนที่จะอพยพตามออกไป