chapter-3-1-อุปกรณ์ตรวจจับควัน-ชน

chapter-3-1-อุปกรณ์ตรวจจับควัน-ชน

อุปกรณ์ตรวจจับควัน (ชนิดจุด) ​

  • POINT TYPE SMOKE DETECTOR อุปกรณ์ตรวจจับควันเป็นอุปกรณ์ป้องกันชีวิต และทรัพย์สิน

ตำแหน่งติดตั้งในพื้นที่ป้องกันของอุปกรณ์ตรวจจับควัน

  • พื้นที่มีสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต้องไม่ติดตั้งอุปกรณ์
    • พื้นที่อุณหภูมิแวดล้อมต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส
    • พื้นที่อุณหภูมิแวดล้อมสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
    • ค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าร้อยละ 93
    • มีความเร็วลมสูงกว่า 300 ft/min (1.5 m/sec)
  • พื้นที่มีอัตราการระบายอากาศสูง
    • ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับให้ห่างจากจ่ายลมเย็น หรือช่องดูดลมกลับที่อยู่ในระนาบเดียวกันกับ อุปกรณ์ตรวจจับนั้น ไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร
    • อัตราการระบายอากาศ (Air Change Rate) 15 ครั้งต่อชั่วโมง หมายถึง ปริมาตรอากาศในห้องที่ต้องระบายออกภายนอกให้หมดเป็นจำนวน 15 เท่าของปริมาตรห้องในเวลา 1 ชั่วโมง
  • ความสูงที่ติดตั้งอุปกณณ์ตรวจจับควันชนิดจุด
    • เพดานสูงที่ไม่เกิน 3.50 เมตร ต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับโดยให้ส่วนตรวจจับอยู่ต่ำจากเพดานไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 600 มิลลิเมตร
    • อุปกรณ์จรวจจับควันที่ติดตั้งเข้ากับผนัง ต้องติดที่ใกล้กับเพดาน หรือบริเวณที่ขอบล่างของส่วนตรวจจับต่ำจากเพดานไม่เกิน 300 มิลลิเมตร
    • อุปกรณ์จรวจจับควันชนิดจุดติดตั้งได้ไนระดับความสูงไม่เกิน 10.50 เมตร

ตำแหน่งติดตั้งที่เพดานราบของอุปกรณ์ตรวจจับควัน

  • ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ในช่องทางเดิน
    • ช่องทางเดินกว้างไม่เกิน 3.60 เมตร มีเพดานระดับที่สูงไม่เกิน 3.0 เมตร โดยใช้รัศมีวงกลมพื้นที่ตรวจจับที่คาบเกี่ยว (overlap) ต่อเนื่องกัน จะมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับได้ไม่เกิน 12.00 เมตร และห่างผนังปลายทางได้ไม่เกิน 6.00 เมตร
  • ความสูงในการติดตั้ง
    • ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดาน ที่สูงจากพื้นไม่เกิน 10.5 เมตร
  • ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์
    • ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับไม่เกิน 9.10 เมตร (s) คิดเป็นพื้นที่ตรวจจับไม่เกิน 6.30 เมตร (0.7s) โดยต้องติดห่างจากผนังกั้น หรือชั้นวาง
  • ตำแหน่งติดตั้งที่เพดานทรงจั่วของอุปกรณ์ตรวจจับควัน
    • การติดตั้งแถวแรก
      • ต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับแถวแรกที่ด้านหนึ่งของเพดาน ในระยะหนึ่งที่อยู่ต่ำลงมาจากจุดสูงสุดของเพดานไม่น้อย กว่า 100 มิลลิเมตร จากเส้นแนวดิ่งและไม่เกิน 910 มิลลิเมตร จากเส้นแนวดิ่งของจั่วถึงเพดานแต่ละด้าน
    • พื้นที่ระเว้น
      • ต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับแถวแรกที่ด้านหนึ่งของเพดาน ในระยะหนึ่งที่อยู่ต่ำลงมาจากจุดสูงสุดของเพดานไม่น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร (วัดในแนวดิ่ง)
    • ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์
      • ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับไม่เกิน 9.10 เมตร (s) คิดเป็นพื้นที่ตรวจจับไม่เกิน 6.30 เมตร (0.7s) โดยต้องติดห่างจากผนังกั้น หรือชั้นวาง
    • ความสูงในการติดตั้ง
      • ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดาน ที่สูงจากพื้นไม่เกิน 10.5 เมตร

อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
(ชนิดจุดแบบอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ)

  • POINT TYPE HEAT DETECTOR (RATE OF RISE) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนไม่ใช่เป็นอุปกรณ์ป้องกันชีวิต มีไว้เพื่อป้องกันทรัพย์สินเท่านั้น

ระยะห่างจากช่องลมระบบปรับอากาศ

  • (1) ต้องติดตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่กระแสลม อุณหภูมิ และความชื้นจากระบบปรับอากาศไม่รบกวนหรือมีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับนั้น
  • (2) ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับให้ห่างจากช่องจ่ายลมเย็น หรือช่องดูดลมกลับที่อยู่ในระนาบเดียวกันกับอุปกรณ์ตรวจจับนั้น ไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร

ความสูงที่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน

  • การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดานระดับราบที่สูงจากพื้นที่ไม่เกิน 3.0 เมตร
    จะมีระยะห่างที่กำหนด (listed spacing) ระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับไม่เกิน 9.1 เมตร มีรัศมีการตรวจจับ 6.3 เมตร พื้นที่ตรวจจับอย่างต่อเนื่อง 82.8 ตารางเมตร
    โดยต้องติดห่างจากผนังกั้น หรือชั้นวางของไม่เกิน 4.5 เมตร

ตำแหน่งติดตั้งที่เพดานราบของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน

  • ตำแหน่งติดตั้งสำหรับพื้นที่มีเพดานสูง
    • อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจุดติดตั้งบนเพดานระดับราบที่สูง 3.0 เมตร
      จะมีระยะห่างที่กำหนด 9.10 เมตร และหากติดตั้งสูงเกินกว่า 3.0 เมตรต้องลดระยะห่างอุปกรณ์ตรวจจับ โดยใช้คูณลดระยะห่างที่กำหนดตามตาราง

ตำแหน่งติดตั้งที่แนวระดับของตงหรือคานยื่นลงมาของอุปกรณ์ตรวจจับควัน และอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน

  • คาน ( beam )
    • คาน (beam) ที่ลึกหรือยื่นลงมาจากเพดานตั้งแต่ 100 มิลลิเมตร หรือมากกว่า มีระยะห่างระหว่างเส้นกึ่งกลางคานมากกว่า 1.00 เมตร ติดตั้งทั้งที่ใต้ตงและเพดานต้องลดระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับที่อยู่ในแนวตั้งฉากกับคานลงร้อยละ 33 หรือมีระยะห่างไม่เกินสองในสามของระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับบนเพดานระดับราบ (2/3s)
  • คานลึกน้อยกว่า 300 มิลลิเมตร
    • คานที่ลึกมากกว่า 300 มิลลิเมตร มีระยะห่าระหว่างเส้นกึ่งกลางคานมากกว่า 2.40 เมตร ให้ติดอุปกรณ์ตรวจจับ
    • – ถ้า d/h มากกว่า 0.1 และ w/h น้อยกว่า 0.4 ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่ใต้คานแต่ละคานที่เพดานระหว่างคานดังรูป
    • – ถ้า d/h มากกว่า 0.1 และ w/h มากกว่า 0.4 ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดานระหว่างคาน
  • คานลึกน้อยกว่า 300 มิลลิเมตร
    • คานที่ลึกน้อยกว่า 300 มิลลิเมตร มีระยะห่างระหว่างเส้นกึ่งกลางคานน้อยกว่า 2.40 เมตร ให้ติดอุปกรณ์ตรวจจับที่ใต้คาน
  • เพดานที่มีตงรองพื้น (solid joist)
    • คานที่ยื่นลงมาจากเพดานไม่เกิน 100 มิลลิเมตร ให้ถือเป็นเพดานระดับราบปกติ