chapter-3-4-อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพ

chapter-3-4-อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพ

อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง FLAME DETECTOR

  • ประเภทอุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง
    • การเลือกประเภทของอุปกรณ์
      • ผู้ใช้งานต้องมีความเข้าใจหลักการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง (แบบอินฟราเรดและอัลตราไวโอเลต) เพื่อการเลือกใช้ที่ถูกต้องเหมาะสม กับความเสี่ยงของสถานที่และระดับของการป้องกัน โดยการติดตั้งต้องทำตามคำแนะนำของผู้ผลิต ตามชนิดของอุปกรณ์ที่เลือกใช้
  • รูปแบบพื้นที่และระยะของอุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง
  1. มุมมองของอุปกรณ์ตรวจจับ
    • อุปกรณ์ตรวจจับต้องใช้เลนส์ที่ให้มุมมองครอบคลุมพื้นที่ หรือสิ่งที่ต้องการป้องกันได้โดยการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับหลายชุดเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของการตรวจจับ
  2. อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง
    • ต้องไม่ติดตั้งให้เกิดเงาหรือจุดบอดบนพื้นที่ที่ป้องกัน
      พื้นที่ที่ไม่ได้รับการป้องกันที่เกิดขึ้นจากการบังของวัตถุ เช่นสิ่งของบนชั้นเก็บของสูงๆ ต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับเพิ่มเติมที่จุดนั้น
  3. อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิงต้องติดตั้งไม่ให้มีวัตถุมากีดขวาง
    • หรือมีโครงสร้างของอาคารมาบัง หรืออยู่ในแนวมุมตรวจจับของอุปกรณ์ (field of view) ตำแหน่ง ติดตั้งต้องเข้าทำการบำรุงรักษาได้สะดวก เช่น การทำความสะอาดเลนส์ และต้องไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับใกล้แสงสว่างจ้า หรือหลังกระจกใส หรือแผงโปร่งแสงใดๆ ที่บังการรับการแผ่รังสีจากเปลวเพลิง
  • ระยะห่างและตำแหน่งติดตั้งของอุปกรณ์ตรวจจับ
    • ระยะห่างและตำแหน่งติดตั้งของอุปกรณ์ตรวจจับ
      • ระยะห่างจากจุดกำเนิดไฟถึงอุปกรณ์ตรวจจับ มีผลต่อความเข้มของการแผ่รังสี โดยความเข้มข้นของรังสีที่มาถึงอุปกรณ์ตรวจจับจะลดลง ในปริมาณที่ผกผันของระยะห่างยกกำลังสองโดยประมาณ ดังนั้นหากระยะห่างเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ความเข้มของการแผ่รังสีจากจุดกำเนิดไฟจะต้องมีมากขึ้นถึง 4 เท่าจากเดิม จึงจะทำให้อุปกรณ์ตรวจจับทำงาน
    • การพิจารณามุมมอง
      • อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง จะทำงานตรวจจับได้เฉพาะ
        ในแนวที่มองเห็นได้โดยตลอด จากจุดที่เป็นต้นกำเนิดไฟเท่านั้น ในระยะทางที่มีความไวในการตรวจจับสูงสุด โดยจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบแวดล้อมอื่นควบคู่ไปด้วย
    • การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ
      • อุปกรณ์ตรวจับต้องติดตั้งบนฐานที่มั่นคงไม่สั่นไหว อันทำให้เกิดการเริ่มสัญญาณที่ผิดพลาด
    • ระยะห่างและตำแหน่งติดตั้งของอุปกรณ์ตรวจจับ