Chapter 3.1
อุปกรณ์ตรวจจับควัน (ชนิดจุด)
- POINT TYPE SMOKE DETECTOR อุปกรณ์ตรวจจับควันเป็นอุปกรณ์ป้องกันชีวิต และทรัพย์สิน

ตำแหน่งติดตั้งในพื้นที่ป้องกันของอุปกรณ์ตรวจจับควัน
- พื้นที่มีสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต้องไม่ติดตั้งอุปกรณ์
- พื้นที่อุณหภูมิแวดล้อมต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส
- พื้นที่อุณหภูมิแวดล้อมสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
- ค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าร้อยละ 93
- มีความเร็วลมสูงกว่า 300 ft/min (1.5 m/sec)
- พื้นที่มีอัตราการระบายอากาศสูง
- ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับให้ห่างจากจ่ายลมเย็น หรือช่องดูดลมกลับที่อยู่ในระนาบเดียวกันกับ อุปกรณ์ตรวจจับนั้น ไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร
- อัตราการระบายอากาศ (Air Change Rate) 15 ครั้งต่อชั่วโมง หมายถึง ปริมาตรอากาศในห้องที่ต้องระบายออกภายนอกให้หมดเป็นจำนวน 15 เท่าของปริมาตรห้องในเวลา 1 ชั่วโมง
- ความสูงที่ติดตั้งอุปกณณ์ตรวจจับควันชนิดจุด
- เพดานสูงที่ไม่เกิน 3.50 เมตร ต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับโดยให้ส่วนตรวจจับอยู่ต่ำจากเพดานไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 600 มิลลิเมตร
- อุปกรณ์จรวจจับควันที่ติดตั้งเข้ากับผนัง ต้องติดที่ใกล้กับเพดาน หรือบริเวณที่ขอบล่างของส่วนตรวจจับต่ำจากเพดานไม่เกิน 300 มิลลิเมตร
- อุปกรณ์จรวจจับควันชนิดจุดติดตั้งได้ไนระดับความสูงไม่เกิน 10.50 เมตร
ตำแหน่งติดตั้งที่เพดานราบของอุปกรณ์ตรวจจับควัน

- ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ในช่องทางเดิน
- ช่องทางเดินกว้างไม่เกิน 3.60 เมตร มีเพดานระดับที่สูงไม่เกิน 3.0 เมตร โดยใช้รัศมีวงกลมพื้นที่ตรวจจับที่คาบเกี่ยว (overlap) ต่อเนื่องกัน จะมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับได้ไม่เกิน 12.00 เมตร และห่างผนังปลายทางได้ไม่เกิน 6.00 เมตร
- ความสูงในการติดตั้ง
- ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดาน ที่สูงจากพื้นไม่เกิน 10.5 เมตร
- ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์
- ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับไม่เกิน 9.10 เมตร (s) คิดเป็นพื้นที่ตรวจจับไม่เกิน 6.30 เมตร (0.7s) โดยต้องติดห่างจากผนังกั้น หรือชั้นวาง

- ตำแหน่งติดตั้งที่เพดานทรงจั่วของอุปกรณ์ตรวจจับควัน
- การติดตั้งแถวแรก
- ต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับแถวแรกที่ด้านหนึ่งของเพดาน ในระยะหนึ่งที่อยู่ต่ำลงมาจากจุดสูงสุดของเพดานไม่น้อย กว่า 100 มิลลิเมตร จากเส้นแนวดิ่งและไม่เกิน 910 มิลลิเมตร จากเส้นแนวดิ่งของจั่วถึงเพดานแต่ละด้าน
- พื้นที่ระเว้น
- ต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับแถวแรกที่ด้านหนึ่งของเพดาน ในระยะหนึ่งที่อยู่ต่ำลงมาจากจุดสูงสุดของเพดานไม่น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร (วัดในแนวดิ่ง)
- ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์
- ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับไม่เกิน 9.10 เมตร (s) คิดเป็นพื้นที่ตรวจจับไม่เกิน 6.30 เมตร (0.7s) โดยต้องติดห่างจากผนังกั้น หรือชั้นวาง
- ความสูงในการติดตั้ง
- ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดาน ที่สูงจากพื้นไม่เกิน 10.5 เมตร
- การติดตั้งแถวแรก
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
(ชนิดจุดแบบอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ)
- POINT TYPE HEAT DETECTOR (RATE OF RISE) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนไม่ใช่เป็นอุปกรณ์ป้องกันชีวิต มีไว้เพื่อป้องกันทรัพย์สินเท่านั้น

ระยะห่างจากช่องลมระบบปรับอากาศ
- (1) ต้องติดตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่กระแสลม อุณหภูมิ และความชื้นจากระบบปรับอากาศไม่รบกวนหรือมีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับนั้น
- (2) ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับให้ห่างจากช่องจ่ายลมเย็น หรือช่องดูดลมกลับที่อยู่ในระนาบเดียวกันกับอุปกรณ์ตรวจจับนั้น ไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร
ความสูงที่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
- การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดานระดับราบที่สูงจากพื้นที่ไม่เกิน 3.0 เมตร
จะมีระยะห่างที่กำหนด (listed spacing) ระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับไม่เกิน 9.1 เมตร มีรัศมีการตรวจจับ 6.3 เมตร พื้นที่ตรวจจับอย่างต่อเนื่อง 82.8 ตารางเมตร
โดยต้องติดห่างจากผนังกั้น หรือชั้นวางของไม่เกิน 4.5 เมตร
ตำแหน่งติดตั้งที่เพดานราบของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
- ตำแหน่งติดตั้งสำหรับพื้นที่มีเพดานสูง
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจุดติดตั้งบนเพดานระดับราบที่สูง 3.0 เมตร
จะมีระยะห่างที่กำหนด 9.10 เมตร และหากติดตั้งสูงเกินกว่า 3.0 เมตรต้องลดระยะห่างอุปกรณ์ตรวจจับ โดยใช้คูณลดระยะห่างที่กำหนดตามตาราง
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจุดติดตั้งบนเพดานระดับราบที่สูง 3.0 เมตร

ตำแหน่งติดตั้งที่แนวระดับของตงหรือคานยื่นลงมาของอุปกรณ์ตรวจจับควัน และอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
- คาน ( beam )
- คาน (beam) ที่ลึกหรือยื่นลงมาจากเพดานตั้งแต่ 100 มิลลิเมตร หรือมากกว่า มีระยะห่างระหว่างเส้นกึ่งกลางคานมากกว่า 1.00 เมตร ติดตั้งทั้งที่ใต้ตงและเพดานต้องลดระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับที่อยู่ในแนวตั้งฉากกับคานลงร้อยละ 33 หรือมีระยะห่างไม่เกินสองในสามของระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับบนเพดานระดับราบ (2/3s)
- คานลึกน้อยกว่า 300 มิลลิเมตร
- คานที่ลึกมากกว่า 300 มิลลิเมตร มีระยะห่าระหว่างเส้นกึ่งกลางคานมากกว่า 2.40 เมตร ให้ติดอุปกรณ์ตรวจจับ
- – ถ้า d/h มากกว่า 0.1 และ w/h น้อยกว่า 0.4 ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่ใต้คานแต่ละคานที่เพดานระหว่างคานดังรูป
- – ถ้า d/h มากกว่า 0.1 และ w/h มากกว่า 0.4 ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดานระหว่างคาน

- คานลึกน้อยกว่า 300 มิลลิเมตร
- คานที่ลึกน้อยกว่า 300 มิลลิเมตร มีระยะห่างระหว่างเส้นกึ่งกลางคานน้อยกว่า 2.40 เมตร ให้ติดอุปกรณ์ตรวจจับที่ใต้คาน
- เพดานที่มีตงรองพื้น (solid joist)
- คานที่ยื่นลงมาจากเพดานไม่เกิน 100 มิลลิเมตร ให้ถือเป็นเพดานระดับราบปกติ
Chapter 3.2
อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสง BEAM TYPE SMOKE DETECTOR
- ตำแหน่งติดตั้งของพื้นที่ป้องกัน
- อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสง ให้การตรวจจับที่มีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุดที่เรียงต่อกัน สำหรับเพดานระดับราบ และเพดานทรงจั่วสามารถใช้ข้อกำหนดเดียวกับอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุดได้
- ติดตั้งได้ในระดับความสูงไม่ต่ำกว่า 2.70 เมตร แต่ไม่เกิน 25.00 เมตร
- ติดตั้ง ในระดับที่ควันสามารถกระจายหรือลอยตัวผ่านขึ้นไปจนถึงลำแสงของอุปกรณ์ตรวจจับ
ควันได้ โดยอุปกรณ์ส่วนที่รับลำแสงต้องไม่ถูกกับแสงแดดโดยตรง หรือแสงจ้ามากๆ จนอาจทำให้ทำงานผิดพลาดได้ - ต้องติดตั้งต่ำจากเพดานไม่น้อนกว่า 300 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 750 มิลลิเมตร เพื่อลดผลกระทบจากระดับของชั้นอากาศร้อนใต้เพดาน (Stratification Effect)
- อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสง ให้การตรวจจับที่มีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุดที่เรียงต่อกัน สำหรับเพดานระดับราบ และเพดานทรงจั่วสามารถใช้ข้อกำหนดเดียวกับอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุดได้

- ตำแหน่งติดตั้งของพื้นที่ป้องกัน
- ระยะห่างจากผนังหรือผิวติดตั้งในแนวตั้งฉากกับลำแสง ต้องไม่เกิน 3.5 เมตรหรือ ¼ เท่า ของระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แต่ละชุด

- ตำแหน่งติดตั้งในพื้นที่ที่มีเพดานลาดเอียง
- ต้องติดตั้งชุดตัวส่ง และแผ่นสะท้อน หรือชุดตัวส่งและตัวรับ
ให้ลำแสงขนานกับแนวระดับไปตามความลาดเอียงของเพดาน โดยใช้ระยะห่างระหว่างชุดอุปกรณ์ใต้เพดานระดับราบ
- ต้องติดตั้งชุดตัวส่ง และแผ่นสะท้อน หรือชุดตัวส่งและตัวรับ

- การวัดระยะห่างระหว่างชุดอุปกรณ์ตรวจจับของเพดานลาดเอียง
- การวัดระยะห่างติดตั้งระหว่างชุดอุปกรณ์ตรวจจับในแนวเพดานลาดเอียงต้องวัดในแนวระดับราบ

- การวัดความสูงของเพดานลาดเอียง
- เพื่อกำหนดตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ ตรวจจับต้องวัดจากเพดานลงมาถึงพื้นในแนวดิ่งในแต่ละระดับลาดเอียงที่เพดาน

- ระยะห่างแต่ละชุด
- ต้องไม่เกิน 14.00 เมตรอุปกรณ์ชุดอยู่ใกล้ผนังกั้นแบ่งพื้นที่ในแนวขนานกับลำแสง ต้องติดห่างจากผนังไม่เกิน 7.00 เมตรหรือ ½ เท่าของระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แต่ละชุด


องค์ประกอบของอุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสง
- Beam Control Station
- Beam Control Station คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าส่งสัญญาณของ Smoke Beam Detector ไปยังตู้ควบคุมระบบ Fire Alarm System อีกทั้งยังสามารถ Alignment และ Test สถานะการทำงานผ่านทาง Beam Control Station ได้เพื่อง่ายต่อการ Service และ Maintenance

- Smoke Beam Detector
- Smoke Beam Detector คือ อุปกรณ์ตรวจจับที่ประกอบไปด้วย Transmitter IR ที่ทำหน้าที่เป็นตัวส่งคลื่น IRและ อุปกรณ์ที่เป็นตัวรับ Receiver IR ทำหน้าที่รับคลื่น IR ที่สะท้อนกลับมา

- Prism Reflector
- Prism Reflectorคืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับสะท้อนคลื่น infrared signal ที่ส่งมาจาก Smoke Beam Detector

Chapter 3.3
อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศหลายจุด
(MULTIPOINT ASPIRATED SMOKE DETECTOR)
- คุณลักษณะของอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศหลายจุด
- อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศหลายจุด
- Multipoint Aspirated Smoke Detector คือ อุปกรณ์ตรวจจับควันที่ประกอบด้วยท่อดูดอากาศ พื้นที่ป้องกันกลับมายังเครื่องตรวจจับควันด้วยปั๊มดูดอากาศขนาดเล็ก โดยท่ออาจมีรูสำหรับดูดสุ่มตัวอย่างอากาศได้ตั้งแต่หนึ่งรูขึ้นไป ซึ่งจุดสุ่มตัวอย่างอากาศแต่ละจุด ถือเสมือนเป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด และต้องใช้ระยะห่างตามมาตรฐานของอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด โดยท่อต้องมีขนาด ความยาว จำนวนรู และขนาดของรู เป็นไปตามที่ผู้ผลิตกำหนด โดยขนาดของพื้นที่สำหรับโซน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
- ระยะห่างระหว่างรูสุ่มตัวอย่าง
- จะต้องไม่เกินกว่าระยะห่าง ระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด
- อากาศที่ถูกดูดผ่านจุดสุ่มตัวอย่างที่จุดไกลสุด
- มาถึงจุดตรวจจับ จะต้องใช้เวลาไม่เกิน 120 วินาที
- จุดสุ่มตัวอย่างแต่ละจุด
- จะต้องมีรูสุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเหมาะสมที่ให้ระบบทำงานได้โดยสะดวกและถูกต้อง
- อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศหลายจุด

- โซนและพื้นที่ของอุปกรณ์ตรวจจับ
- โซนตรวจจับด้วยอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศ
- แต่ละโซนสามารถมีขนาดพื้นที่โซนได้ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร
- พื้นที่ของการตรวจจับ
- ห้องที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 46 ตารางเมตรจะต้องมีจุดสุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไป
- ระบบท่อสุ่มตัวอย่าง
- การออกแบบระบบท่อดูดอากาศ รวมทั้งการกำหนดขนาดท่อ และการคำนวณปริมาตร การไหลของอากาศผ่านท่อจะต้องทำให้ระบบมีความไวในการตรวจจับที่เท่ากัน
- ปริมาณการไหล
- การออกแบบระบบท่อสุ่มตัวอย่าง จะต้องทำให้ปริมาตรการไหลของอากาศจากรูสุ่มตัวอย่างทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปริมาตรอากาศที่ดูดผ่านรูสุ่มตัวอย่างที่อยู่ใกล้จุดตรวจจับมากที่สุด
- โซนตรวจจับด้วยอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศ

- อุปกรณ์ตรวจจับชนิดสุ่มในท่ออากาศ
- รูปแบบและส่วนประกอบของการติดตั้ง

Chapter 3.4
อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง FLAME DETECTOR
- ประเภทอุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง
- การเลือกประเภทของอุปกรณ์
- ผู้ใช้งานต้องมีความเข้าใจหลักการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง (แบบอินฟราเรดและอัลตราไวโอเลต) เพื่อการเลือกใช้ที่ถูกต้องเหมาะสม กับความเสี่ยงของสถานที่และระดับของการป้องกัน โดยการติดตั้งต้องทำตามคำแนะนำของผู้ผลิต ตามชนิดของอุปกรณ์ที่เลือกใช้
- การเลือกประเภทของอุปกรณ์

- รูปแบบพื้นที่และระยะของอุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง
- มุมมองของอุปกรณ์ตรวจจับ
- อุปกรณ์ตรวจจับต้องใช้เลนส์ที่ให้มุมมองครอบคลุมพื้นที่ หรือสิ่งที่ต้องการป้องกันได้โดยการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับหลายชุดเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของการตรวจจับ
- อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง
- ต้องไม่ติดตั้งให้เกิดเงาหรือจุดบอดบนพื้นที่ที่ป้องกัน
พื้นที่ที่ไม่ได้รับการป้องกันที่เกิดขึ้นจากการบังของวัตถุ เช่นสิ่งของบนชั้นเก็บของสูงๆ ต้องติดอุปกรณ์ตรวจจับเพิ่มเติมที่จุดนั้น
- ต้องไม่ติดตั้งให้เกิดเงาหรือจุดบอดบนพื้นที่ที่ป้องกัน
- อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิงต้องติดตั้งไม่ให้มีวัตถุมากีดขวาง
- หรือมีโครงสร้างของอาคารมาบัง หรืออยู่ในแนวมุมตรวจจับของอุปกรณ์ (field of view) ตำแหน่ง ติดตั้งต้องเข้าทำการบำรุงรักษาได้สะดวก เช่น การทำความสะอาดเลนส์ และต้องไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับใกล้แสงสว่างจ้า หรือหลังกระจกใส หรือแผงโปร่งแสงใดๆ ที่บังการรับการแผ่รังสีจากเปลวเพลิง

- ระยะห่างและตำแหน่งติดตั้งของอุปกรณ์ตรวจจับ
- ระยะห่างและตำแหน่งติดตั้งของอุปกรณ์ตรวจจับ
- ระยะห่างจากจุดกำเนิดไฟถึงอุปกรณ์ตรวจจับ มีผลต่อความเข้มของการแผ่รังสี โดยความเข้มข้นของรังสีที่มาถึงอุปกรณ์ตรวจจับจะลดลง ในปริมาณที่ผกผันของระยะห่างยกกำลังสองโดยประมาณ ดังนั้นหากระยะห่างเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ความเข้มของการแผ่รังสีจากจุดกำเนิดไฟจะต้องมีมากขึ้นถึง 4 เท่าจากเดิม จึงจะทำให้อุปกรณ์ตรวจจับทำงาน
- การพิจารณามุมมอง
- อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง จะทำงานตรวจจับได้เฉพาะ
ในแนวที่มองเห็นได้โดยตลอด จากจุดที่เป็นต้นกำเนิดไฟเท่านั้น ในระยะทางที่มีความไวในการตรวจจับสูงสุด โดยจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบแวดล้อมอื่นควบคู่ไปด้วย
- อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง จะทำงานตรวจจับได้เฉพาะ
- การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ
- อุปกรณ์ตรวจับต้องติดตั้งบนฐานที่มั่นคงไม่สั่นไหว อันทำให้เกิดการเริ่มสัญญาณที่ผิดพลาด
- ระยะห่างและตำแหน่งติดตั้งของอุปกรณ์ตรวจจับ

-
- ระยะห่างและตำแหน่งติดตั้งของอุปกรณ์ตรวจจับ
